DSpace Repository

ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ที่ดีในโรงงานอุตสาหกรรม : กรณีศึกษานิคมอุตสาหกรรมบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

Show simple item record

dc.contributor.advisor พิษณุ วรรณกูล
dc.contributor.advisor Pitsanu Wannakul
dc.contributor.author ขุนพล เชาวนปรีชา
dc.contributor.author Khunpol Chaowanapreecha
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
dc.date.accessioned 2022-05-07T13:48:14Z
dc.date.available 2022-05-07T13:48:14Z
dc.date.issued 2012
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/254
dc.description วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.) (การจัดการอุตสาหกรรม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2555. th
dc.description.abstract ปัญหาขัดแย้งด้านแรงงานถือว่าเป็นปัญหาสำคัญที่ก่อให้เกิดความเสียหายมิใช่เฉพาะแต่ภายในโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงวงการอุตสาหกรรมในประเทศ ดังนั้น เพื่อก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างฝ่ายนายจ้างกับฝ่ายลูกจ้าางการส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำมาซึ่งความก้าวหน้าในการพัฒนางาน พัฒนาประเทศ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเท่ียบความคิดเห็นของนายจ้างและลูกจ้างที่มีต่อการส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ที่ดีในโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับผลจากปัจจัยที่ทำการศึกษา โดยแยกตามขนาดของโรงงานอุตสาหกรรมและเพื่อเปรียบเทียบแนวคิดในการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาด้านแรงงานสัมพันธ์ในโรงงานอุตสาหกรรมระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง กลุ่มตัวอย่างเป็นตัวแทนนายจ้างและลูกจ้างที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งตั้งอยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 114 โรงงาน ดำเนินการวิจัยโดยมีการตอบแบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาปัจจัยที่ส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ที่ดี โดยใช้ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) ผลการวิจัยพบว่าตัวแทนนายจ้างและลูกจ้างร้อยละ 70.2 เป็นเพศหญิง จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมากที่สุด ถึงร้อยละ 63.2 มีปัญหาแรงงานหรือกรณีพิพาทด้านแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมร้อยละ 12.3 ตัวแทนนายจ้างและลูกจ้างมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ที่ดีในโรงงานอุตสาหกรรมแตกต่างกันในภาพรวม และพบว่าปัจจัยด้านเงินเดือนและค่าจ้าง การติดต่อสื่อสาร การมีส่วนร่วมของลูกจ้างในโรงงานอุตสาหกรรม การฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร ความก้าวหน้าในสายอาชีพ ความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม และทัศนคติของฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง ปัจจัยต่างๆ 7 ด้านนี้ตัวแทนนายจ้างเห็นว่า มีผลต่อ่การส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ในระดับมาก ส่วนปัจจัยด้านสวัสดิการและนโยบายและแผนงานด้านแรงงานสัมพันธ์มีผลต่อการส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ ในระดับปานกลาง ส่วนลูกจ้างเห็นว่า ปัจจัยที่มีความสำคัญในระดับมากในการส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ที่ดีในโรงงานอุตสาหกรรม คือ ด้านเงินเดือนและค่าจ้าง การติดต่อสื่อสาร และความปลอดภัย ส่วนด้านสวัสดิการ การมีส่วนร่วมของพนักงาน การฝึกอบรม และพัฒนาบุคลากร ความก้าวหน้าในสายอาชีพ นโยบายและแผนงานด้านแรงงานสัมพันธ์และทัศนคติของฝ่ายนายจ้าง และลูกจ้างมีผลต่อการส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ในระดับปานกลาง ทั้งนี้ยังพบอีกว่าตัวแทนนายจ้างและลูกจ้างที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีขนาดต่างกัน มีความคิดเห็นด้านการส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ที่ดีในโรงงานอุตสาหกรรมและแนวคิดในการปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาด้านแรงงานสัมพันธ์ในโรงงานอุตสาหกรรมแตกต่างกันในภาพรวมด้วย th
dc.description.abstract Labor conflict is a major problem cause damage not only in factory but also affect the industry in the country. Therefore, to ensure good relations between employer and employee, the promotion of labor relation is a key factor that will bring progress in the development of developing countries. This research aimed to study and compare the opinions of the employers and employees towards the betterment of the industrial relations within factory as resulted from studied factors classified by size of factory and also to compare idea in bettering and improving industrial relations of employees and employees. The sample of the study consisted of employers and an employee working in manufactories locates in Bangplee Industrial Estates, Samutprakarn. The research approach was based on data and information gathered directly by questionnaires. The data were then analyzed to discover factors that bettered industrial relations using percentages, frequencies, mean and ANOVA.The results showed that 70.2 percent of employers representatives and employees are female. Bachelor's degree 63.2 percent. Labour disputes or labour issues in industrial 12.3 percent. In conclusion, different ideas that would bettwe industrial relations in factory were found in the employers and employee's viewpoints. However, in the matter of factors of salary and wages, communication, employee's participation, training and personal development, career path advancement, safety in factory, employer's and employee's attitudes employers considered them as much important factort while factor of welfare and policies and industrial relations plans are important in the medium. Furthermore, employees considered salary and wages, communicatin and safety in factory are much important factors in bettering industrial relations in factory while factor of welfare, employee's participation, training and personal development, career path advancement, and policies and industrial relations plans, and employer's and employee's attitudes are important in the medium. Different ideas in bettering industrial relations in factory and industrial relations improvement and development was found between employers and employees working in different industrial typed and sized th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject นิคมอุตสาหกรรมบางพลี th
dc.subject แรงงานสัมพันธ์ -- ไทย -- สมุทรปราการ th
dc.subject Industrial relations -- Thailand -- Samutprakarn th
dc.title ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ที่ดีในโรงงานอุตสาหกรรม : กรณีศึกษานิคมอุตสาหกรรมบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ th
dc.title.alternative Factors Effecting the Better Relationship of Labour in Industrial factory : A Case Study of Bangplee Industrial Estate, Samutprkarn Province. th
dc.type Thesis th
dc.degree.name การจัดการมหาบัณฑิต th
dc.degree.level ปริญญาโท th
dc.degree.discipline การจัดการอุตสาหกรรม th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account