การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจลักษณะการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดสมุทรปราการ วิเคราะห์การจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพ ศึกษาและเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุที่มีต่อการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพ ประชากร ได้แก่ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการโลจิสติกส์แหล่งท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสำหรับผู้สูงอายุ ได้แก่ นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ บริษัทนำเที่ยว หน่วยงาน หรือองค์กรที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวในจังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ 385 คน และสัมภาษณ์ตัวแทนจากบริษัทนำเที่ยว 5 ราย สถานประกอบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 3 ราย ตัวแทนชุมชน 2 ราย รวม 395 ราย เครื่องมือที่ใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนาอย่างง่าย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสัมภาษณ์ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานไคสแควส์ สรุปผลการศึกษาพบว่า นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 65-69 ปี ภูมิลำเนากรุงเทพมหานครและภาคกลางมากที่สุด สถานภาพสมรส และมีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป มีรายได้ปานกลางระหว่าง 10,000-20,000 บาท และวางแผนการท่องเที่ยวด้วยตนเองในลักษณะไปเช้าเย็นกลับ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำในระดับมาก มีระดับความพึงพอใจในการจัดการโลจิสติกส์ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านกายภาพ ข้อมูลสารสนเทศ การให้บริการโลจิสติกส์ สถานที่ท่องเที่ยว และด้านบุคลากรในระดับมากเช่นกัน และสรุปผลการทดสอบสมมติฐานลักษณะประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ และรายได้ กับความพึงพอใจในการจัดการโลจิสติกส์แต่ละด้านไม่มีความแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
The purpose of this research was to survey the health promotion tourism characteristics for elderly tourists in Samutprakarn province, analyze logistics management in healt promotion tourism and to study and to compare satisfaction level of elderly tourists toward logistics management in health promotion. The population and samples of this study were the stakeholder who involved in logistics management ih health promotion such as 385 elderly tourists, 5 travel agents. 3 and 2 community representatives total were 395 samples, by use interview, questionnair. The statistical analysis showed the frequency, percentage, average, contents analysis for interview analysis and hypothesis testing. The results found that the elderly tourists almost age between 65-69 domicile in Bangkok and central region province, almost married and obtained bachelor degree,, have moderate income between 10,000-20,000 baht. For the tourists behavior plan to travel by themselves in one-day trip. The logistics management in health promotion tourism for elderly tourists from upstream, midstream to downstream were agreed at high level. The overall elderly tourists's satisfaction is at very satisfied level in 6 issues ; physical, information, logistics service, tourist attractive place and personnel were the same at high level. Demography, gender, age and income were not influenced by the logistics management satisfaction at a statistical significance of .05