DSpace Repository

การปรัปรุงประสิทธิภาพโดยรวมของงานฉีดพลาสติกในโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ : กรณีศึกษา บริษัท ไทยซัมมิทโอโตพาร์ท อินดัสตรี จำกัด

Show simple item record

dc.contributor.advisor พิษณุ วรรณกูล
dc.contributor.advisor Pitsanu Wannakul
dc.contributor.author ชาตรี ละออไขย์
dc.contributor.author Chatri Laorkhai
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
dc.date.accessioned 2024-08-13T13:36:37Z
dc.date.available 2024-08-13T13:36:37Z
dc.date.issued 2008
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2584
dc.description การศึกษาอิสระ (บธ.ม.) (การจัดการอุตสาหกรรม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2551. en
dc.description.abstract การศึกษาอิสระเป็นการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาสาเหตุ วิเคราะห์ และเสนอแนะแนวทางแก้ไขเกี่ยวกับปัจจัยการผลิตของงานฉีดพลาสติกที่มีผลทำให้ค่าประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักรต่ำ (ค่า EEE) โดยการให้หลักการความสูญเสีย 6 ประการ คือ เครื่องจักรเสีย การเปลี่ยนรุ่น การหยุดเล็กน้อย การสูญเสียความเร็ว การเริ่มเดินเครื่อง งานเสียและการแก้ไขงานปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตเพื่อนำเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น พบว่า การสูญเสียอันยิ่งใหญ่ทั้งหกที่มีผลต่อประสิทธิภาพโดยรวมของงานฉีดพลาสติกในโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ดังต่อไปนี้1. เครื่องจักรเสีย สาเหตุ เครื่องเก่า ชำรุด ขาดการดูแลรักษา ไม่มี PPM Mold การแก้ไข จัดให้มีการทำ PPM เครื่องจักรประจำวัน จัดทำตาราง spare part ของเครื่องจักรและมีการเปลี่ยน spare part ที่สำคัญของเครื่องจักร เช่น o-ring, connector เป็นต้น ตามระยะเวลาที่กำหนด กำหนดระยะเวลาในการทำ PM แม่พิมพ์ตาม Volume ของการฉีดในแต่ละรายการ2. การเปลี่ยนรุ่นเปลี่ยนรุ่นบ่อย สาเหตุ เกิดจาก Volume ในการฉีดแต่ละรายการมีน้อยฝ่ายวางแผนไม่ได้รวบ order เข้าด้วยกัน การแก้ไข กำหนด minimum lot size ในการผลิต จะต้องไม่ต่ำกว่า 100 ชิ้นในแต่ละครั้ง3. รอการอบเม็ด สาเหตุในก material บางรุ่นจำเป็น ต้องมีการอบเม็ดเพื่อให้เกิดความร้อนใช้ในการหลอมละลายของพลาสติกทำให้เสียเวลาของเครื่องจักรการแก้ไข จัดให้มี hopper สำรองในการอบเม็ดโดยให้อบเม็ดรอล่วงหน้าตามเวลาที่กำหนด4. เสียเวลาล้างท่อ สาเหตุ การเปลี่ยนรุ่นจากสีหนึ่งไปอีกสีหนึ่งจะเกิดปัญหาสีที่ตกค้างอยู่ในท่อออกมาปนกับสีใหม่ ต้องเสียเวลาในการล้างท่อการแก้ไข ทำการ Lock เครื่องให้ผลิตเฉพาะสีที่กำหนดและจัดโซนของเครื่องโดยกำหนดให้แต่ละโซนผลิตชิ้นงานที่มีโทนสีใกล้เคียงกันเท่านั้น5. ไม่มีแผนในการ try-out สาเหตุ งาน new-model หรือ Modified ต้องมีการทดลองเพื่อ Approved ชิ้นงานจากฝ่ายวิศวกรรมแต่ไม่มีการกำหนดล่วงหน้า ทำให้ต้องมาแทรกเครื่องจักร ขณะผลิต การแก้ไข จัดระบบให้ฝ่ายวิศวกรรมที่จะทำการ try-out ต้องเข้าที่ส่วนวางแผนการผลิตก่อนเพื่อกำหนดการ try-out เข้าไปอยู่ในแผนการผลิต6. การหยุดเล็กน้อยไม่มีภาชนะบรรจุ สาเหตุ ภาชนะบางส่วนเป็นภาชนะแบบหมุนเวียนที่ต้องนำกลับมาจากลูกค้า แต่ขาดคนดูแลในส่วนนี้ ทำให้ภาชนะหมุนกลับมาไม่ทันการผลิตการแก้ไข กำหนดผู้รับผิดชอบให้ชัดเจนในการนำภาชนะกลับจากลูกค้าโดยกำหนดให้เป็นความรับผิดชอบของฝ่ายขายที่ไปส่งสินค้าแล้วต้องนำภาชนะกลับ7. แผนผลิตตกหล่น สาเหตุ เกิดจากความไม่มีประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่วางแผนทำให้แผนผลิตตกหล่น ข้อมูลไม่ถึงส่วนผลิต ทำให้ต้องออกแผนเร่งด่วน และเสียเวลาในการเปลี่ยนแม่พิมพ์ การแก้ไข จัดขั้นตอนการทำงานของเจ้าหน้าที่วางแผนใหม่ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น (Job description) และกำหนดบทลงโทษเจ้าหน้าที่ที่ไม่ใส่ใจทำงาน8. การสูญเสียความเร็วขาดกำลังคนในการผลิต สาเหตุ เนื่องจากมีพนักงานหยุดงานโดยไม่ได้ลาล่วงหน้า โดยเฉพาะการหยุดงานต่อเนื่อง ขาดกำลังคนในการผลิตวันหยุดประจำสัปดาห์ การแก้ไข กำหนดบทลงโทษกับพนักงานประจำเครื่องไม่มาทำงาน9. การเริ่มเดินทางเครื่องรอเปิดผลิต สาเหตุ ในการที่ต้องเปิดเครื่องมือฉีดบางเครื่อง จะต้องทำการ warm up เครื่องจักรและต้องเตรียมการผลิต เช่น การเทเม็ด ทำให้เครื่องและคนต้องเสียเวลาในการรอก่อนเริ่มทำการผลิต การแก้ไข จัดให้มีพนักงานบางส่วนเข้าทำงานก่อนเวลาเพื่อเตรียมเครื่องให้กับพนักงานที่จะมาเข้ากะต่อไป รวมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมงานผลิตทั้งหมดเข้าเป็นแผนกเดียวกัน เช่น หน่วยงาน material, die-set เพื่อลดเวลาในการเตรียมการผลิต10. การประชุมแถวนาน สาเหตุ เสียเวลาในการประชุมแถวก่อนเริ่มทำงานเป็นเวลานาน การแก้ไข กำหนดให้การประชุมแถวก่อนเริ่มทำงานไม่เกิน 10 นาทีต่อวัน11. งานเสียและการแก้ไขรอการตัดสินใจ สาเหตุในกรณีที่เกิดปัญหาด้านคุณภาพในขณะผลิต พนักงานประจำเครื่องต้องรอการตัดสินใจจากพนักงาน Q.A. ทำให้ต้องเสียวเวลาในการผลิต การแก้ไข ฝึกอบรมพนักงานผลิตให้สามารถตัดสินใจในเรื่องคุณภาพได้ โดยใช้ระบบ self inspection และกำหนดให้ Q.A. ทำหน้าที่ในการสุ่มตรวจเท่านั้น12.ไม่มี limit sample สาเหตุ ไม่มี limit sample ใน line ผลิตทำให้ไม่สามารถตัดสินใจในกรณีพบของต้องสงสัยทำให้เสียเวลาในการยืนยัน การแก้ไขจัดให้มี limit sample ไว้ประจำเครื่องจักรทุกรายการผลิตจากการศึกษาได้พบว่า เมื่อมีการควบคุมและแกไขปัจจัยที่เป็นต้นเหตุทำให้ค่าประสิทธิภาพโดยรวมต่ำหลายๆ ปัจจัยแล้ว ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล ประเมินผลหลังการแก้ไขปรากฏว่าค่าประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักรเพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ย 33.98% เป็นค่าเฉลี่ย 63.38% en
dc.language.iso th en
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.subject การฉีดขึ้นรูปพลาสติก en
dc.subject Injection molding of plastics en
dc.subject อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ en
dc.subject Automobile supplies industry en
dc.subject การควบคุมความสูญเปล่า en
dc.subject Loss control en
dc.subject การควบคุมการผลิต en
dc.subject Production control en
dc.subject บริษัท ไทยซัมมิทโอโตพาร์ท อินดัสตรี จำกัด en
dc.subject Thai Summit Autoparts Industry Co., Ltd. en
dc.title การปรัปรุงประสิทธิภาพโดยรวมของงานฉีดพลาสติกในโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ : กรณีศึกษา บริษัท ไทยซัมมิทโอโตพาร์ท อินดัสตรี จำกัด en
dc.title.alternative An Improvement of Overall Equipment Effectiveness for Plastic Injection Process in Auto Parts Factory : A Case Study of Thai Summmit Autoparts Industry Co., Ltd. en
dc.type Independent Studies en
dc.degree.name บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต en
dc.degree.level ปริญญาโท en
dc.degree.discipline การจัดการอุตสาหกรรม en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account