การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยใช้หลักการ ADDIE MODEL สำหรับพนังงานของสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม เรื่อง การใช้สูตรและฟังก์ชั่นด้วยโปรแกรม Microsoft Excel ตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างผู้เข้ารับการฝึกที่เรียน ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับวิธีสอนปกติและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลัง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เข้ารับการฝึกยกระดับฝีมือคอมพิวเตอร์ หลักสูตรการใช้โปรแกรม Microsoft Office ของหน่วยงานสังกัดกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ประจำปี พ.ศ. 2556 กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่ม เป็นการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 200 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 เรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหาประสิทธิภาพ จำนวน 100 คน กลุ่มที่ 2 ใช้สำหรับการเรียนการสอนปกติ จำนวน 100 คน กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านเนื้อหาและเทคนิคการผลิต จำนวน 7 คน ผลการศึกษาปรากฏว่า แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยกง่ายอยู่ระหว่าง 0.33-0.78 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.22-0.44 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบเท่ากับ 0.90 ผลประเมินสื่อของผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านเนื้อหา ได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.45 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.38 ด้านเทคนิคการผลิต ได้ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.45 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.38 ผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 87.67/84.53 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 80/80 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแตกต่างจากวิธีการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
The objectives of the study were to design computerized teaching support lessons for workers of industrial enterprises based on the principle of ADDIE MODEL. The topic of the lessons was "How to Use Formula and Functions of Microsoft Excel". The aim of this study was to compare the learning achievement both before ad after class between the trainees taught with computerized teaching support lessons and those taught with non-computerized ones. And the results were evaluated by using the standard mark at 80/80. The samples selected for this study are the trainees from some divisions under the Department of Skill Development for the course of uplifting computer skills of the year 2013. The samples were drawn from 200 trainees, using simple random sampling method. They were divided into two groups. There were 100 samples in each group. The first group was trained with the computerized lessons for efficiency measurement. The second one was trained with non-computerized lessons. There were seven specialists for content and production technics. The results of the study were as follows: The evaluation of learning achievement was 4-choice test of 30 questions. The difficulty index 0.33-0.78. The discrimination score was 0.22-0.44. The reliability index of the test was 0.90. The evaluation of learning material by the content specialists was the average of 4.45. The standard deviation was 0.38. The result of using the computerized lessons showed the efficiency of 87.67/84.53 that was higher than the expected standard mark, 80/80. The learning achievement of the computerized lessons was different from learning achievement of the non-computerized ones with statistically significant at 0.05 level. The learning achievement of the computerized lessons before and after class was statistically significant at 0.05 level.