สิวเป็นปัญหาโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยในวัยรุ่นถึงวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย จิตใจ และสังคม ตลอดจนทำให้ขาดความมั่นใจ นอกจากนี้ยังพบว่ามีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการดูแลรักษาสิวหลายประการ ผู้วิจัยจึงพัฒนาสื่ออินโฟกราฟิกเพื่อให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสิวและการดูแลรักษาสิวเบื้องต้น วัตถุประสงค์เพื่อวัดประสิทธิภาพของสื่อที่พัฒนาขึ้นทั้งด้านความรู้ ความเข้าใจและความพึงพอใจ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ถึง 4 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งเป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Research) โดยเก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถามและการทำแบบทดสอบ โดยประเมินจากคะแนนและระดับความรู้ก่อนและหลังรับชม สื่ออินโฟกราฟิก จากผลการศึกษากลุ่มตัวอย่าง 457 คน พบว่า ก่อนรับชมสื่อมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลรักษาสิว อยู่ในระดับสูงร้อยละ 25.8 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 68.1 หลังรับชมสื่อ และเมื่อเปรียบเทียบตามลักษณะกลุ่มตัวอย่าง พบว่าเพศและคณะสายวิทยาศาสตร์สุขภาพกับคณะที่ไม่ใช่สายวิทยาศาสตร์สุขภาพมีระดับความรู้หลังรับชมสื่อไม่แตกต่างกัน แต่ช่วงอายุของกลุ่มตัวอย่างที่แตกต่างกัน มีระดับความรู้หลังจากรับชมสื่อก็แตกต่างกัน (p < 0.05) ในด้านความพึงพอใจหลังรับชมสื่อ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจมากที่สุดในด้านเนื้อหาของอินโฟกราฟิก และภาพรวมของสื่อมีความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก
Acne is a common skin’s problem in teenagers and adult. Acne can cause physical, menta and social health problems, especially lack of confidence. In addition to, there are many misunderstandings about acne treatment. Therefore, we decided to develop infographic media to provide more knowledge about acne and basic acne care. This study was conducted as a Quasiexperimental Research study by collecting data through questionnaires and testing. The assessment was based on scores and knowledge level before and after watching infographics. The samples of 457 people, the knowledge of acne treatment before watching the media was at a high level of 25.8% and increased to 68.1% after watching the media. Factor comparing, it was found that sex and the faculty of Health Sciences and Non-Health Sciences had no difference in knowledge level after watching the media. While the age range, it was found that the level of knowledge after watching the media was different (p < 0.05). In terms of satisfaction after watching the media, the subjects were most satisfied with the content of the infographic, and overall media satisfaction was at a very good level.