การศึกษานี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยสัมพันธ์กับการติดตามผลการใช้ยาและสุขภาพผู้ป่วยของร้านยาในประเทศไทย (การติดตาม) ด้วยแบบสอบถามออนไลน์ ระหว่าง ธันวาคม 2564 ถึง มกราคม 2565 มีร้านขายยาแผนปัจจุบันประเภท ขย.1 จานวน 153 ร้าน ที่สมัครใจให้ข้อมูล วิเคราะห์สถิติ ความถี่ ร้อยละ และ Chi-square ผลการสำรวจพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีรูปแบบร้านยาเป็นร้านยาเดี่ยว (ร้อยละ 80.4) เป็นร้านยาคุณภาพ (ร้อยละ 35.9) เปิดร้านยามา < 10 ปี (ร้อยละ 62.1) เจ้าของร้านยาเป็นเภสัชกร (ร้อยละ 80.4) มีอายุอยู่ในช่วง Generation Y (ร้อยละ 41.8) เปิดทำการ > 8 ชั่วโมง/วัน (ร้อยละ 92.8) มีจำนวนผู้รับบริการ < 50 คน (ร้อยละ 47.7) การใช้โปรแกรมบริหารจัดการในร้านยา (ร้อยละ 66.0) พบว่า ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามมีการติดตามผลการใช้ยาและสุขภาพผู้ป่วย (ร้อยละ 51.0) โดยมีเหตุผลว่า เพื่อติดตามผลการรักษาผู้ป่วย (ร้อยละ 62.8) เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า และเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ป่วย ซึ่งทั้งสองมีจำนวนเท่ากัน (ร้อยละ 17.9) ส่วนเหตุผลของการไม่ติดตาม ได้แก่ มีขั้นตอนและกระบวนการที่ยุ่งยาก (ร้อยละ 50.7) รองลงมา คือ ขาดผู้ปฏิบัติหน้าที่ในส่วนนี้ ลูกค้าไม่สะดวก และเจ็บป่วยเล็กน้อย คิดเป็นร้อยละ 28.0, 6.7 และ 6.7 ตามลำดับ สำหรับช่องทางการติดตาม พบว่า มีการนัดผู้ป่วยกลับมาติดตามที่ร้านยา (ร้อยละ 31.3) ติดตามผู้ป่วยทางโทรศัพท์ (ร้อยละ 30.5) และติดตามผ่านแอปพลิเคชัน Line® (ร้อยละ 29.0) โดยจะคัดเลือก ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาต่อเนื่อง (ร้อยละ 25.6) รองลงมา คือ ผู้ป่วยที่รักษาไม่หาย และผู้ป่วยที่มีความกังวล/เครียดเกี่ยวกับโรคที่เป็น คิดเป็นร้อยละ 16.7 และ 13.9 ตามลาดับ และประโยชน์ของการติดตาม คือ ผู้ป่วยกลับมาใช้บริการที่ร้านยาซ้า (ร้อยละ 23.8) ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ยา (ร้อยละ 23.4) เพิ่มความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย (compliance) (ร้อยละ 23.4) ป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (ร้อยละ 18.6) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลให้ร้านยามีการติดตามผลการใช้ยาและสุขภาพผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ รูปแบบร้านยา (p-value = 0.020) จำนวนผู้มารับบริการต่อวัน (p-value = 0.040) และการใช้โปรแกรมบริหารจัดการในร้านยา (p-value = 0.004) สรุป ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการติดตามผลการใช้ยาและสุขภาพผู้ป่วยในร้านยาอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ได้แก่ รูปแบบร้านยา จำนวนผู้มารับบริการต่อวัน และการใช้โปรแกรมบริหารจัดการในร้านยา โดยพบว่า หากร้านยามีการติดตามจะมี ประโยชน์ต่อทั้งผู้ป่วยและร้านยา กล่าวคือเมื่อผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ยา จะทำให้ผู้ป่วยเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยา และลดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา พร้อมทั้งส่งเสริมให้ผู้ป่วยกลับมาใช้บริการร้านยาซ้ำอีก
The objective was to study factors that related to follow-up patients drug use and health status of community pharmacies in Thailand. Data were collected by online questionnaires during December 2021 – January 2022. The voluntary respondents were 153 community pharmacies around Thailand. Data were analyzed by statistical method such as frequency, percentage and Chisquare test. The results showed that the majority of respondents were independent pharmacies (80.4%), accredited pharmacy (35.9 %), < 10 years of establishment (62.1%), pharmacist and owner (80.4%), age in the Generation Y (41%), pharmacist’s full-time (62.7%), operation > 8 hours/day (92.8%), < 50 customers/day (47.7%), and the use of administrative computer program (66.0%). About a half of respondents had follow-up patients drug use and health status (51.0%). The reasons for follow-up were to follow up patient’s clinical outcome (62.8 %), make good relationships with customers (17.9%) and better confidence in patients (17.9%). The reason of nonfollow-up were complicated procedures (50.7%), lack of personals, inconvenient customers and a mild illness were 28.0%, 6.7% and 6.7%, respectively. For patient’s follow-up procedures, patients were appointed at the pharmacies (31.3%), by telephone (30.5%), and by Line® application (29.0%). The criteria for selection were patients with long term treatment (25.6%), patients with no cure, and patients with concerns or stress about their disease 16.7% and 13.9%, respectively. The benefit of follow up in respondent’s opinions were patients returned to the pharmacies again (23.8%), better knowledge and understanding of drug (23.4%), better compliance (23.4%), prevent adverse drug reactions (18.6%). The factors that related to follow-up patients drug use and health status of community pharmacies with statistically significant were the type of pharmacies (p-value = 0.020), number of customers/day (p-value = 0.040) and the use of administrative computer program (p-value = 0.004). Conclusion The factors that related to follow-up patients drug use and health status of community pharmacies were the type of pharmacies, number of customers/day and the use of administrative computer program. If the pharmacies had follow-up patients drug use and health status, it would benefit both the patients and the pharmacies. For patient, there were better knowledge and understanding of drug, better patient's compliance and lower adverse drug reactions as well as to encourage patients to return to the pharmacies service again.