การวิจัยนี้เป็นแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ การรับรู้ความรุนแรงของโรค กับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของพนักงานศูนย์กระจายสินค้าแห่งหนึ่งในอำเภอ บางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 142 คน ซึ่งเป็นพนักงานประจำศูนย์กระจายสินค้า เครื่องมือที่ใช้การเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้การป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 อยู่ในระดับดี (ร้อยละ86.62) การรับรู้ความรุนแรงของการติดเชื้อโควิด-19 อยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 100) มีพฤติกรรมในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 อยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 95.77) พบความรู้และการรับรู้ความรุนแรงของโรคมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 (r=0.183, p-value=0.014 และ r=0.229, p-value=0.003 ตามลำดับ) จึงเสนอแนะให้หน่วยงานควรมีการให้ความรู้และส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโควิด-19 ที่ถูกต้องกับพนักงานอย่างต่อเนื่อง
This research was a cross-sectional study. The objectives was to study the relationships between knowledge, perceived severity of disease and preventive behaviors on the coronavirus disease-2019 (COVID-19) among employees of a distribution center at Bang Sao Thong District, Samut Prakan Province. The sample was 142 persons who were full time employees of the distribution center. The questionnaires were used as a research tool for data collection. The data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, Chi-square test and Spearman’s rank correlation coefficient. The results show that most subjects have a good level of knowledge (86.62%), have a high level of perception disease severity (100%), and have a high level of preventive behaviors on the COVID-19 (95.77%). Knowledge and perceived severity of disease has a positive relationship with preventive behaviors (r=0.183, p-value=0.014 and r=0.229, p-value=0.003 respectively). Therefore, it is recommended that relevant agencies should provide the correct knowledge and promote preventive behaviors on the COVID-19 consistently.