การวิเคราะห์แนวทางการจัดกิจกรรมวัฒนธรรมไทยในมหาวิทยาลัย : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศกว่างซี มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ความสนใจวัฒนธรรมไทยของนักศึกษาชาวจีน 2) เพื่อวิเคราะห์ปัญหา และแนวทางการจัดกิจกรรมวัฒนธรรมไทยสำหรับนักศึกษาชาวจีน สาขาวิชาภาษาไทยในมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศกว่างซี สาธารณรัฐประชาชนจีน กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาชาวจีนที่กำลังศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย จำนวน 229 คน เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการวิจัยคือ แบบสอบถามแบบเลือกตอบ และแบบคำถามปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (x̄) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาชาวจีนมีความสนใจวัฒนธรรมไทย 11 ด้าน ดังนี้ อาหารการกินไทย ( x̄ = 4.46, S.D.=0.66) การแต่งกายของไทย ( x̄ = 4.21, S.D.=0.71) ประเพณีไทย (x̄ = 4.20, S.D.=0.72) มารยาทไทย (x̄ = 4.18, S.D.=0.75) ภาษาไทย (x̄ = 4.14, S.D.=0.78) วิถีชีวิตไทย (x̄ = 4.10, S.D.=0.78) การละเล่นไทย ( x̄ = 3.96, S.D.=0.88) ศาสนาไทย (x̄ = 3.88, S.D.=0.89) ดนตรีไทย หรือเครื่องดนตรีไทย (x̄ = 3.80, S.D.=0.83) วรรณกรรมไทย (x̄ = 3.74, S.D.=0.88) สถาปัตยกรรมไทย (x̄ = 3.69, S.D.=0.88) จากการวิเคราะห์ปัญหาการจัดกิจกรรมวัฒนธรรมไทยสำหรับนักศึกษาชาวจีน พบ 4 ประเด็น คือ 1) จำนวนกิจกรรมไม่เพียงพอ และขาดความคิดสร้างสรรค์ในการจัดกิจกรรม 2) ขาดความสนับสนุนทางอุปกรณ์ การประชาสัมพันธ์งานกิจกรรมไม่ทั่วถึง 3) วิชาเรียนหรือทำงานพิเศษมากเกินไป จึงทำให้ไม่มีเวลาในการจัดกิจกรรมหรือเข้าร่วมกิจกรรม 4) ขาดแนวคิดการเสริมสร้างกิจกรรมให้เป็นแบรนด์ (Brand) ส่วนแนวทางการจัดกิจกรรมวัฒนธรรมไทยของนักศึกษาชาวจีนมี 4 แนวทาง ได้แก่ 1) การจัดกิจกรรมวัฒนธรรมไทยเป็นประจำ เช่น จัดตั้งชมรมวัฒนธรรมไทย มีโครงการวัฒนธรรมไทยระดับมหาวิทยาลัย 2) จัดให้มีกิจกรรมวัฒนธรรมไทยหลายรูปแบบ เช่น การประกวดทักษะทางภาษาและวัฒนธรรม และจัดกิจกรรมบรรยายทางวิชาการ 3) ประชาสัมพันธ์งานวัฒนธรรมไทยอย่างทั่วถึง เพื่อดึงดูดนักศึกษาให้เข้าร่วม 4) การสร้างกิจกรรมวัฒนธรรมไทยให้เป็นแบรนด์ (Brand) เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของกิจกรรมวัฒนธรรมไทย ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นแนวทางการเรียนการสอนภาษาและวัฒนธรรมไทยสำหรับนักศึกษาชาวจีนให้มีประสิทธิภาพต่อไป
This research aimed to 1) analyze the interest of Chinese students in Thai culture and 2) analyze problems and solutions for holding Thai cultural activities for 229 Chinese students, majoring in Thai in Guangxi Foreign Language University in People’s Republic of China. Research tools included a checklist questionnaire; an open-ended question form; a percentage data analyzing program; the arithmetic mean calculation; and the standard deviation calculation. Research findings were reported as a descriptive analysis. cuisine ( x̄ = 4.46, S.D.=0.66); Thai clothing ( x̄ = 4.21, S.D.=0.71); Thai culture (x̄ = 4.20, S.D.=0.72); Thai etiquette ( x̄ = 4.18, S.D.=0.75); Thai language ( x̄ = 4.14, S.D.=0.78); Thai ways of live ( x̄ = 4.10, S.D.=0.78); Thai plays and games (x̄ = 3.96, S.D.=0.88); Thai Buddhism (x̄ = 3.88, S.D.=0.89); Thai traditional music and instruments ( x̄ = 3.80, S.D.=0.83); Thai Literature (x̄ = 3.74, S.D.=0.88); and Thai architecture (x̄ = 3.69, S.D.=0.88). For problem analysis, four aspects were observed, including 1) insufficient and plain activities; 2) limited appliance and public relations; 3) time conflicts for both activity organizers and participants; 4) no brand-name creation of the activity. Solutions for further organizing Thai cultural activities by Chinese students, four proposed suggestions included 1) annual Thai cultural activities should be held, for example by Thai culture club and held two occasions per semester. 2) Various Thai cultural activities should be held, for example skills competition of Thai language and culture, or academic talks. 3) Broad public relations among students should be launched. 4) Brand name creation of Thai cultural activities holding should be created for being a symbol of Thai cultural activities; this could effectively support the learning and teaching Thai language and culture to Chinese students.