งานวิจัยเรื่อง การปรับตัวการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมของผู้สอนชาวไทยที่สอนภาษาไทยในมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศกว่างซี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการปรับตัวการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมของผู้สอนชาวไทยที่สอนภาษาไทยในมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศกว่างซี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สอนชาวไทยที่สอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศกว่างซีจำนวน 3 คน ผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วย การสังเกตและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การนำเสนอผลงานวิจัยด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ผลการวิจัยพบว่า ผู้สอนชาวไทยที่ได้สอนภาษาไทยอยู่ในมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศกว่างซีในระยะแรก ผู้สอนได้เกิดความตระหนกทางวัฒนธรรม แต่ผู้สอนชาวไทยก็สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมจีนได้ เนื่องจากบางวัฒนธรรมไทยกับจีนมีความคล้ายคลึงกัน ด้านการสอนเนื่องจากในชั้นเรียนมีความแตกต่างจากประเทศไทย ซึ่งถือได้ว่าเป็นอุปสรรคที่สำคัญ โดยเฉพาะในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมกับนักศึกษาชาวจีน คือ เรื่องภาษา นอกจากนี้แนวทางการปรับตัวของผู้สอนชาวไทยพบว่า เมื่อเกิดปัญหาในการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม ผู้สอนชาวไทยจะมีแนวทางในการปรับตัวที่หลากหลาย เช่น การเข้าร่วมงานตามประเพณีและกิจกรรมสำคัญของชาวจีน หรือการพยายามเรียนรู้วัฒนธรรมของจีนจากสื่อต่าง ๆ รวมทั้งการใช้ภาษากายเพื่อพยายามในการสื่อสารและเรียนรู้ภาษาจีนในชีวิตประจาวันและเพื่อทำการสอน อีกทั้งเพื่อนร่วมงานชาวจีนยังมีส่วนช่วยให้ผู้สอนชาวไทยได้เข้าใจถึงวัฒนธรรมต่าง ๆ จนสามารถปรับตัวได้ง่ายขึ้น และส่งผลให้สามารถปรับตัวได้สาเร็จ โดยเฉพาะเรื่องการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม รวมไปจนถึงสามารถปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้มีความเหมาะสมและเกิดผลสาเร็จในการสื่อสารร่วมกับนักศึกษาชาวจีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
This research aimed to study cross-cultural communication adaptation of three Thai teachers in Guangxi Foreign Language University. The sample group was specifically selected. Data was gathered by observation and in depth interviews. Research findings were reported as a descriptive analysis. The research found that in the beginning the Thai teachers in Guangxi Foreign Language University experienced cultural shocks; however, since some Thai and Chinese traditions were closed, so the teachers eventually adjusted themselves to the new environment. For the different Chinese classrooms, the main problem was communication with the Chinese students. Besides general adaptations, the Thai teachers overcame the cross-cultural problem by various ways, for example participating traditional or major Chinese activities; learning Chinese culture through variety of media; using body language in daily communication, in learning Chinese and in classrooms. Moreover, the Chinese colleagues also assisted the Thai teachers a lot in perceiving Chinese culture and made the adaptation successful, both in cross-cultural communication; in designing appropriate and efficient lesson plans; and in communication with Chinese students effectively.