DSpace Repository

การจัดการโลจิสติกส์เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน : กรณีศึกษาบริษัท วีเซิร์ฟโลจิสติกส์ จำกัด

Show simple item record

dc.contributor.advisor ลั่นทม จอนจวบทรง
dc.contributor.advisor ชุติระ ระบอบ
dc.contributor.advisor Chutira Rabob
dc.contributor.advisor Lanthom Jonjuabtong
dc.contributor.author สุนทรี เจริญสุข
dc.contributor.author Soontharee Charoensuk
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
dc.date.accessioned 2022-05-12T12:21:58Z
dc.date.available 2022-05-12T12:21:58Z
dc.date.issued 2012
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/278
dc.description วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.) (บริหารธุกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2555. th
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นการศึกษาถึงการจัดการโลจิสติกส์เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน กรณีศึกษา บริษัท วี-เซิร์ฟ โลจิสติกส์ จำกัด ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษารูปแบบและลักษณะการดำเนินการของบริษัท วี-เซิร์ฟ โลจิสติกส์ จำกัด และวิเคราะห์การจัดการกิจกรรมโลจิสติกส์ที่สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของบริษัท วี-เซิร์ฟ โลจิสติกส์ จำกัด เพื่อศึกษาแนวทางการกำหนดรูปแบบการจัดการโลจิสติก์ที่มีประสิทธิภาพ การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ จะเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์บุคคลเชิงลึก การสังเกตการณ์ และการใช้แบบสอบถาม ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ระดับผู้บริหาร และระดับผู้จัดการหรือหัวหน้างานฝ่ายต่างๆ และพนักงานที่ปฏิบัติงาน ในสายงานที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมโลจิสติกส์ของบริษัท วีเซิร์ฟ โลจิสติกส์ จำกัด จำนวนทั้งสิ้น 446 คน ได้ทำการเลือกสุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ โดยวิธีการเลือกที่มีคุณลักษณะเฉพาะเจาะจงที่เป็นพนักงานผู้ปฏิบัติงนในสายงานที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมโลจิสติกส์ของบริษัท วี-เซิร์ฟ โลจิสติกส์ ทั้งสิ้น 365 คน ในการเก็บข้อมูล และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยใช้โครงสร้างของบริษัท วี-เซิร์ฟ โลจิสติกส์ จำกัด เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกบุคลากรผู้บริหารระดับสูง จำนวน 1 คน และตัวแทนผู้จัดการหรือหัวหน้างานแต่ละฝ่าย จำนวน 7 คน ผลการศึกษาทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณนั้น แบ่งออกตามหัวข้อ ดังนี้ ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ แบ่งออกเป็น 3 หัวข้อ คือ 1. รูปแบบและลักษณะการดำเนินธุรกิจโลจิสติกส์ของบริษัท วี-เซิร์ฟ โลจิสติกส์ จำกัด พบว่า บริษัทจัดเป็นผู้ให้บริการโลจิสติกส์ลำดับที่ 3 (Third Party Logistics Provider: 3PL) ที่เป็นเจ้าของสินทรัพย์ในการประกอบกิจกรรมทางโลจิสติกส์ที่รวบรวมหลากหลายบริการอย่างครบวงจรเพื่อสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุด 2. กิจกรรมโลจิสติกส์ที่ทสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในด้านการเป็นผู้นำด้านต้นทุน ด้านการสร้างความแตกต่าง และด้านการตอบสนองอย่งรวดเร็ว ของบริษัท วี-เซิร์ฟ โลจิสติกส์ จำกัด สามารถสรุปได้ว่า ทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ มีความสอดคล้องกัน โดยมีกิจกรรมโลจิสติกส์ที่เกี่ยวข้องกับบริษัท วี-เซิร์ฟ โลจิสติกส์ ทั้ง 11 กิจกรรม ซึ่งทุกกิจกรรมดังกล่าวมีส่วนช่วยสนับสนุนให้บริษัทสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันทั้ง 3 ด้าน 3. แนวทางการกำหนดรูปแบบการจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพคือ จะต้องกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนในแต่ละปีตามสถานการณ์ของเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป มีการกำหนดลักษณะงานที่ชัดเจน เพื่อให้พนักงานทุกคนทำงานไปในทิศทางเดียวกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในส่วนของการให้บริการกับลูกค้าต้องทำให้ลูกค้าพึงพอใจมากที่สุดอย่างมีประสิทธิภาพในการติดตามและแก้ไขปัญหาได้ภายในไม่เกิน 2 วัน โดยมีการจัดฝึกอบรมให้กับพนักงานอย่างสม่ำเสมอ ส่วนคลังสินค้าต้องเป็นศูนย์กลางในการกระจายสินค้าได้อย่างทั่วถึง เพื่อให้จัดส่งตรงเวลาทันกับความต้องการของลูกค้า มีความถูกต้อง และมีการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการเพื่อขจัดความซ้ำซ้อนของการทำงาน ทำให้สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยในการตรวจนับสินค้า ผลการศึกษาเชิงปริมาณ คือ การวิเคราะห์กิจกรรมโลจิสติกส์ที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของบริษัท วี-เซิร์ฟ โลจิสติกส์ จำกัด ในด้านการเป็นผู้นำด้านต้นทุน ด้านการสร้างความแตกต่าง และด้านการตอบสนองอย่างรวดเร็ว สามารถสรุปได้ว่า กิจกรรมโลจิสติกส์ที่มีความได้เปรียบทางการแข่งขันในภาพรวมที่มีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมากของระดับความคิดเห็นของพนักงาน คือ อันดับที่หนึ่ง ปัจจัยด้านการบริการลูกค้า มีความเห็นด้วยมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 36.28 และเมื่อพิจารณาปัจจัยเชิงกลยุทธ์ที่ทำให้ได้เปรียบทางการแข่งขันทั้ง 3 ด้าน คือ อันดับที่หนึ่ง ด้านการตอบสนองอย่างรวดเร็ว ในเรื่องการจัดกิจกรรมโลจิสติกส์อย่างมีประสิทธิภาพทำให้บริษัทสามารถตอบสนองอย่างรวดเร็วในการปฏิบัติงาน ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 42.5 มีความเห็นด้วยมากที่สุด ดังนั้น บริษัทฯ จึงควรมีการจัดการกิจกรรมโลจิสติกส์ทุกกิจกรรมในหลายด้านควบคู่กันไป เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในทุกด้าน th
dc.description.abstract This research was to study logistics management for competitive advantages at V-Serve Logistics. The main objective was to study business medels and activities of V-Serve Logistics. The main objective was to study business models and activities of V-Serve Logistics, and to analyze logistics activitiees that created competitive advantages. In addition, it was to define the model for efficient logistics management. This study included quantitative and qualitative research. The activities were data collection by focused interview, observation and questionnaire. People involved in this research were top management, department heads and operators that are related to logistics activities at V-Serve Logistics. There were 365 people in this survey. Furthermore, for qualitative research, the author randomly selected one top management of V-Serve and 7 department heads. The results of qualitative and quantitative study were shown as follow: Quantitative parts were divided into 3 parts: 1. V-Serve business model and type of business:V-Serve is a third party logistics service provider (3PL) that own properties that involve in logistics activities that include various types of services. This enables V-Serve to respond to wide variety of custom needs. 2. Logistics activities that create competitive advantages in costs, differentiation and fast response of V-Serve Logistics: It can be summarized that qualitative and quantitative research has similar outcome. There are 11 logistics related activities at V-Serve that make V-Serve to have competitive advantages in 3 categories as mentioned. 3. Approach to define effective logistics model is to have clear annual target according to dynamic business environment. Also, responsibility of each worker has to be clear, so the worker can work in the same goal efficiently. For customer service, V-Serve has to satisfy customer needs efficiently in solving customer's problems within 2 days. To do that, employees are trained regularly. For warehouse operation, it has to be able to distribute goods to all customers at the right time and quantity. Information technology is used to manage distribution and to eliminate redundancy, so that operation is fast and safe. For quantitative study, the author analyzed logistics activities that were related to the company success. That is to be a leader in cost, diversification and quick response to customer needs. It can be summarized that logistics activities that create competitive advantages are customer service that is accounted for 36.28 of the survey. Whe considering 3 strategic factors, it was found that quick response came in the first place at 42.5%. Therefore, V-Serve should provide related logistics activities to create competitive advantages in all area. th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject บริษัท วีเซิร์ฟโลจิสติกส์ จำกัด th
dc.subject V-Serve Logistics Limited th
dc.subject การแข่งขันทางการค้า th
dc.subject Competition th
dc.subject การบริหารงานโลจิสติกส์ th
dc.subject Business logistics th
dc.title การจัดการโลจิสติกส์เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน : กรณีศึกษาบริษัท วีเซิร์ฟโลจิสติกส์ จำกัด th
dc.title.alternative Logistics Management for the Competitive Advantage : A Case Study of V-Serve Logistics Limited th
dc.type Thesis th
dc.degree.name การจัดการมหาบัณฑิต th
dc.degree.level ปริญญาโท th
dc.degree.discipline การจัดการอุตสาหกรรม th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account