การศึกษาการวางแผนกลยุทธ์การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเชิงพาณิชย์สำหรับประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทย เพื่อศึกษาถึงรูปแบบการท่องเที่ยวทางด้านวัฒนธรรมของประเทศไทยและประเทศเกาหลีใต้ เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคทางการท่องเที่ยวด้านวัฒนธรรมของประเทศไทยและเพื่อเสนอกลยุทธ์ในการปรับปรุงการท่องเที่ยวทางด้านวัฒนธรรมของประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) สำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและชาวไทย กลุ่มตัวอย่างละ 520 ตัวอย่าง และการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structures Interview) สำหรับหน่วยงานทางการท่องเที่ยวทั้งภาครัฐและเอกชนจำนวน 5 ตัวอย่าง และศึกษาเอกสารทางการท่องเที่ยวของประเทศเกาหลีใต้ ผลการศึกษาพบว่า นักท่องเที่ยวทั้งชาวต่างชาติและชาวไทยมีวัตถุประสงค์ในการท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อน โดยนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมีความสนใจการท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรม และชื่นชอบอาหารไทย ซึ่งแตกต่างจากนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีความสนใจในการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และชื่นชอบสถานที่ท่องเที่ยวเป็นส่วนใหญ่ โดยทั้งนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และชาวไทยรับทราบข้อมูลข่าวสารจากสื่ออินเตอร์เน็ตเป็นหลักด้านรูปแบบทางการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวทั้งชาวต่างชาติและชาวไทยมีความสนใจในการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและประเพณี การท่องเที่ยวเชิงทัศนศึกษาและศาสนา และรูปแบบการท่องเที่ยวตามรอยภาพยนตร์จะเป็นส่วนหนึ่งที่นักท่องเที่ยวมีความสนใจเพิ่มมากขึ้นและจะส่งผลต่อพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในการเดินทางท่องเที่ยว ส่วนรูปแบบการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของประเทศเกาหลีมีการนำวัฒนธรรมมานำเสนอในรูปแบบของภาพยนตร์ ละคร เพลง เป็นต้น เพื่อก่อให้เกิดการท่องเที่ยวตามรอยละครที่ได้รับความนิยม โดยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐบาบในการนำวัฒนธรรมมาใช้ในเชิงพาณิชย์ ด้านปัญหาและอุปสรรคทางการท่องเที่ยวด้านวัฒนธรรมของประเทศไทย พบว่า นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและชาวไทยมีความต้องการพัฒนาด้านบุคลากรและหน่วยงานทางการท่องเที่ยว เนื่องจากบุคลากรมีข้อจำกัดด้านภาษา และเทคโนโลยี ส่วนหน่วยงานทางการท่องเที่ยวต้องการการพัฒนาด้านความรู้ทางเทคโนโลยีและคุณภาพในการให้บริการ ด้านกลยุทธ์ในการปรับปรุงการท่องเที่ยวทางด้านวัฒนธรรม พบว่า การรักษาความมีเอกลักษณะทางด้านวัฒนธรรม วิถีชีวิต และการเพิ่มช่องทางในการประชาสัมพันธ์ให้มีการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง เช่น เว็บไซต์ ละคร ภาพยนตร์ รวมถึงการพัฒนาองค์ความรู้ ความสามารถของบุคลากรและหน่วยงานทางการท่องเที่ยว ทั้งนี้รัฐบาลและหน่วยงานการท่องเที่ยวทั้งภาครัฐและเอกชนควรให้การสนับสนุนและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
The study of Strategic Planning for Commercial Cultural Tourism in Thailand has four objectives as to study of the foreign and Thai tourist behavior that travel to Thailand, to study of the cultural tourism style of Thailand and South Korea, to study of problem and threat of Thailand tourism and the last objective as to study of the strategic for improving the Thailand cultural tourism. The sample in consisted of 520 foreign tourists and 520 Thai tourists. Data collection was done using a questionnaire and using structured interview method; primary data, for 5 travel agencies. For literature review, study by secondary data of South Korea tourism. The results revealed that both the foreign and Thai tourists have objective to travel for leisure purpose, the foreign tourist interest in the field of cultural, traditions and Thai food. For Thai tourist interest in natural and favorite place attractions. Both, the foreign and Thai tourists get travel information by using internet. For the tourism style, both tourists internet in the field of cultural, traditions, education and religion tourism. For the moviee style is a part of growing interest in travelers and will affect the travel behavior of tourists. For the tourism style of South Korea has presented by the movie film, play, music which the cause of visit to the popular that have been the support of the public sector for the commercial cultural. For the problems of the Thailand cultural tourism reveled that both the foreign and Thai tourists need to develop human resource and the travel agencies due to limited language and technology. For the travel agencies need to develop the technological knowledge and the quality of service. For the strategic of cultural tourism founded that Thailand should maintain the cultural life style and add the channel to promote the public relation and communication such as website, play, movie film and including the development of knowledge, the ability of the personnel and travel agencies both the public and the private sectors that should provide support and ongoing development by sustainable tourism.