งานวิจัยแบบผสานวิธีเพื่อศึกษาวิธีการสื่อสารอัตลักษณ์และนำเสนอแนวทางการสื่อสารอัตลักษณ์วัดบัวโรย อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ ไปยังเยาวชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ประชากรของการวิจัย ได้แก่ 1) ผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับวิธีการสื่อสารที่เหมาะสมกับเยาวชนคือ ครูโรงเรียนวัดบัวโรย จำนวน 5 คน 2) ประชากรผู้ได้รับการถ่ายทอดความรู้ข้อมูลอัตลักษณ์ของวัดบัวโรย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดบัวโรย จำนวน 18 คน เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบคำถามที่ใช้ในการสนทนากลุ่มเพื่อหาวิธีการสื่อสารที่เหมาะสมกับเยาวชน 2) แบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังการสื่อสาร 3) แบบสอบถามความพึงพอใจหลังจากการเข้าร่วมกิจกรรมการสื่อสาร การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติเชิงพรรณนา ในการวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจจากการรับรู้อัตลักษณ์ของนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมการสื่อสารอัตลักษณ์ของวัดบัวโรย และการเปรียบเทียบคะแนนสอบก่อน-หลัง ด้วยสถิติ t-test ผลการศึกษาพบว่า 1. เยาวชนมีความรู้เพิ่มขึ้นด้วยวิธีการสื่อสารผ่านสื่อทั้ง 3 รูปแบบ คือ สื่อวีดีโอ สื่อแผ่นป้าย และผู้นำชม 2. รูปแบบที่เหมาะสมสำหรับเยาวชนในงานวิจัยนี้ คือ การสื่อสารด้วยการนำชม รองลงมาคือสื่อแผ่นป้ายและสื่อวีดีโอตามลำดับ
This research was qualitative and quantitative research aims to study communication methods of the identity of Wat Bua Roi, Bang Sao Thong District, Samut Prakan Province and suggest guidelines for communicating the identity to youth to promote cultural tourism. The subjects of this research were 1) 5 teachers from Wat Bua Roi School as keyman for appropriate communication methods for youth; 2) 18 students in Prathomsuksa 5, academic year 2020 at Wat Bua Roi School. The tools used in the research consisted of 1) a questionnaire used in focus group discussions to find appropriate communication methods for youth. 2) a pre and posttest to test the knowledge before and after communicating about the identity of Wat Bua Roi; 3) a satisfaction questionnaire after participating in communication activities. Descriptive statistics were used to analyze the level of satisfaction from the identity perception of the students who participated in the identity communication activities of Wat Bua Roi and comparing test scores before and after with t-test statistics. The results of this research were as follows; 1) The youth gained more knowledge by means of communicating the identity of Wat Buaroi through 3 forms of media: video media, board media, and tour guides. 2) The appropriate method for the youth in the sample group is communication by tour guides. Followed by the board media and video media respectively.