การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับของผู้สูงอายุ และความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุที่อยู่ในศูนย์พัฒนาการจัด-สวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านบางละมุง อําเภอบางละมุง ชลบุรี ทั้งเพศชายและเพศหญิง จํานวน 72 คน ในระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม 2556 และใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบประเมินคุณภาพการนอนหลับ แบบประเมินปัจจัยที่รบกวนการนอนหลับและแบบวัดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองสําหรับผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 42.7 มีคุณภาพการนอนหลับดี และร้อยละ 57.1 มีคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี เพศและอายุไม่ได้ส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับ ปัจจัยที่รบกวนการนอนหลับและพยากรณ์คุณภาพการนอนหลับอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติระดับ 0.001 ของกลุ่มตัวอย่างมากที่สุดคือความเจ็บปวด และความสูงอายุ โดยสามารถร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 23.7 กลุ่มตัวอย่างมีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองเฉลี่ย 29.87± 4.2 ซึ่งเป็นคะแนนในระดับที่ค่อนข้างสูง เพศ ระดับอายุและระดับการศึกษาไม่ได้ส่งผลต่อความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ผลการวิจัยในครั้งนี้ เป็นข้อมูลพื้นฐานที่สามารถนําไปวางแผนการปรับปรุงคุณภาพการนอนหลับ จัดการกับปัจจัยที่รบกวนการนอนหลับ และส่งเสริมให้มีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองให้สูงขึ้นในผู้สูงอายุ
The purpose of this study was to study the sleep quality, disturbing factors and self-esteem among the elderly. The research subjects consisted of 72 persons from Banglamung nursing home in Chonburi Province during June to August 2013 recruited through a purposive sampling. Data were collected by individual interview. The research instruments used were (1) a form of Sleep Quality Assessment which was a translated and modified from Pittsburgh Sleep Quality Index (PSQI), (2) a form to assess factors influencing sleep and (3) Rosenberg’s self-esteem scale. Data were analyzed using descriptive statistics in percentage, mean, standard deviation, Pearson’s product moment correlation coefficient and stepwise multiple regression analysis. It was found that 42.86% of subjects had a good sleep quality and the remaining of them had a poor quality. Gender and age did not affect the quality of sleep. Factors significantly disturbing and predicting the sleep quality were pain and senility (p<0.001). These 2 predictors accounted for 23.7% of the variance. The subjects’ self-esteem mean score was 29.87±4.15, which was relatively high. Gender, age and education were not found to affect self-esteem. These findings provide preliminary information for health care plan in order to promote sleep quality, manage sleep disturbance and promote higher self-esteem score in the elderly.