ในทางสรีรวิทยาการนอนหลับจัดเป็นการไม่รู้สติชั่วคราว และมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต การนอนหลับแบ่งเป็น 5 ระยะ โดยจะถูกสังเกตและจัดแบ่งโดยการวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง ใน 4 ระยะแรกเป็นช่วงการนอนหลับที่ไม่มีการเคลื่อนไหวลูกตา ส่วนระยะสุดท้ายเป็นช่วงที่เปลี่ยนเข้าสู่การนอนหลับแบบที่มีการเคลื่อนไหวลูกตาไปมา วงจรการนอนหลับประกอบด้วยช่วงการนอนหลับที่ไม่มีการเคลื่อนไหวของลูกตาและการนอนหลับที่มีการเคลื่อนไหวของลูกตา ประมาณ 5-6 วงจรตลอดทั้งคืน สารสื่อประสาทซีโรโดมินและนอร์อีพิเนฟรีนถูกหลั่งจากกลุ่มเซลล์ประสาทในสมองระดับพอนส์ สารสื่อประสาททั้งสองควบคุมการนอนหลับในช่วงที่ไม่มีการเคลื่อนไหวของลูกตา และยับยั้งกลุ่มเซลล์ประสาท โคลิเนอจิกที่หลั่งอะซิติลโคลีนซึ่งจะควบคุมการนอนหลับในช่วงที่มีการเคลื่อนไหวชองลูกตา การนอนหลับเป็นช่วงที่เวลาที่ร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่มีความสำคัญ เช่น โกรธฮอร์โมน เมลาโทนิน คอร์ติซอล และท้ายที่สุดการนอนหลับที่ไม่เพียงพอจึงมีผลต่อร่างกายและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านความจำ การเรียนรู้ อัตราการสลายน้ำตาลกลูโคส ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย และระบบหัวใจและไหลเวียนโลหิต
Sleep is physiological unconsciousness and a necessary function of life and divided into five stages. These five stages are determined through the changes that observed through the electroencephalograph (EEG). The first four stages are called the non-rapid eye movement (NREM). In the next stage, a sudden burst of rapid eye movement is observed. Sleep cycles consists of 5-6 cycles of NREM and REM through the night. Sleep is the time when the body secretes many important hormones such as growth hormone, malatonin and cortisol. Finally, impact of sleep deprivation is associated with alterations of learning and memory, glucose metabolism, immune system and cardiovascular system.