การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริโภคผลไม้จีนในไทยและการประยุกต์ใช้ตัวแบบจำลองโซ่อุปทาน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสำหรับผู้บริโภคผลไม้จีน 202 ตัวอย่าง และการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างสำหรับหน่วยงานภาครัฐ 6 ตัวอย่าง และสำหรับหน่วยงานภาคเอกชน 3 ตัวอย่าง ค่าสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน การทดสอบสสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบไคสแควร์ และสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ขอบบริโภคผลไม้นำเข้าจากประเทศจีน โดยซื้อเพื่อรับประทานเอง ราคาเป็นปัจจัยสำคัญในการซื้อร้อยละ 61.4 ความปลอดภัยต้านสารเคมีตกค้างคือ ข้อด้อยของผลไม้จีนร้อยละ 69.8% ส่วนข้อดีคือ ราคาผลไม้จีนมีราคาถูกร้อยละ 65.8 ส่วนใหญ่ไม่มีความรู้เรื่องคุณภาพและความปลอดภัย ผลของการตัดสินใจส่วนบุคคลมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อมากที่สุด และราคาผลไม้จีนถูกกว่าผลไม้ไทย ส่วนใหญ่ซื้อผลไม้สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ไม่มีเวลาที่ซื้อแน่นอน สถานที่ซื้อคือตลาดสดจะเลือกซื้อจากความสดของผลไม้มีปริมาณน้อยกว่า 5 กิโลกรัม และใช้วิธีการไปเลือกซื้อโดยตรงร้อยละ 96.5 สรุปผลการทดสอบสมมติฐานได้แก่ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติและพฤติกรรมผู้บริโภค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยด้านสินค้าและบริการมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจต่อการบริโภคผลไม้นำเข้าจากประเทศจีนในระดับสูง (r=0.499) ในด้านผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับรสชาติและความอร่อย (r=0.603) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการวิเคราะห์โดยใช้ตัวแบบจำลองโซ่อุปทาน สรุปได้ว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริโภคผลไม้จีนในไทย พบว่า จีนเป็นแหล่งผลิตผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลกและมีความได้เปรียบที่สามารถผลิตได้ทั้งผลไม้กึ่งร้อนและผลไม้เมืองหนาว ประเทศไทยนำเข้าแอปเปิ้ลจากประเทศจีนมากที่สุด ผลไม้หลากหลายชนิดที่ผลิตสามารถตอบสนองผู้บริโภคชาวไทยได้ตลอดทั้งปี และราคาค่อนข้างต่ำ ภาครัฐควรเข้ามามีบทบาทสนับสนุนในการกำหดนนโยบายการค้าของประเทศอย่างชัดเจน
The purpose of this study was to explain factors related to the comsumption of Chinese fruits in Thailand by using supply chain SCOR Model. 202 samples were selected from consumers by convenience sampling technique and 6 interviews from government sector and 3 from private agency. The data were analyzed by descriptive and inferential statistics on hypothesis testing including Chi-square test and Pearson Correlation Coefficient Analysis. The results of this study revealed that most of the respondents bought and consumed Chinese fruits. Price was an important factor (x̄ = 61.4). The residuw of toxin safety was the disadvantage (x̄ = 69.8). The advantage was that Chinese fruits were cheaper (x̄ = 65.8). Most consumers lacked knowledge on quality and safety. Each individual's discretion had strongest on whether to buy or not. And Chinese fruits were cheaper than Thai fruits. Most consumer do noy visit the market requlary to but fruits, but mostlt once a week. Fresh fruits of less than 5 kilograms were often (96.5%) purchased directly. Hypothesis testing showed that most of the demographic factors were related to consumer's attitude and behavior (at the significance level of .05). Products and services were highly related to consumer satisfaction (R-Squared = 0.499). In addition, taste and deliciousness ( R-Squared = 0.603) was also significant at the level of .05. The analysis from supply chain SCOR Model revealed that among all factors related to consumption of Chinese fruits in Thailand were that China was the world's largest producer of fruits and China produced both semi-tropical and winter season fruits. Thailand imported most of apple fruits from China Several kinds of Chinese fruits at cheap prices could accommodate Thai consumers all the year round. The government should play a role in supporting the regulation of foreign trade policy on a clear-cut basis.