DSpace Repository

การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันธุรกิจเม็ดพลาสติกเกรดบี : กรณีศึกษา บริษัท มิราเคิล เทคโนโลยี จำกัด

Show simple item record

dc.contributor.advisor เสนาะ ติเยาว์
dc.contributor.advisor Sanoh Tiyao
dc.contributor.author ณัฐวัสส์ อังศุประภา
dc.contributor.author Natawat Angsuprapa
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Business Administration
dc.date.accessioned 2024-09-22T07:19:02Z
dc.date.available 2024-09-22T07:19:02Z
dc.date.issued 2000
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/2851
dc.description ภาคนิพนธ์ (บธ.บ.) (บริหารธุรกิจ) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2543 en
dc.description.abstract บริษัท มิราเคิล เทคโนโลยี จำกัด เป็นผู้รับจ้างผลิตและซื้อ-ขายเม็ดพลาสติกเกรดบี เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต ผลิตภัณฑ์พลาสติกทั่วๆ ไป เกี่ยวกับอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมไฟฟ้า รถยนต์ รองเท้า ของเด็กเล่น ฯลฯ ซึ่งในการประกอบธุรกิจดังกล่าวนี้ การเข้า-ออก หรือจำนวนคู่แข่งขันมีมากมาย แต่ไม่สามารถระบุได้ ฉะนั้น ทางบริษัทฯ จึงต้องการจะหลีกหนีสภาวะดังกล่าว โดยทำการศึกษาการสร้างความได้เปรียบทางด้านการแข่งขัน และได้ทำการวิเคราะห์ทางด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้1. ด้านการตลาด (Marketing)2. ด้านการผลิต (Production)3. ด้านการเงิน (Financial)ซึ่งข้อมูลทั้ง 3 ส่วนนี้ จะถูกนำมาจัดทำเกี่ยวกับกลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันโดยแบ่งออกเป็น กลยุทธ์ความแตกต่าง (Differentiation) กลยุทธ์การเป็นผู้นำด้านต้นทุน (Cost Leadership) กลยุทธ์การตอบสนองอย่างรวดเร็ว (Quick Response)โดยในแต่ละกลยุทธ์มีรายละเอียด ดังนี้1. กลยุทธ์ความแตกต่างทางด้านผลิตภัณฑ์ บริการหลังการขาย เทคโนโลยีและการผลิตอย่างสม่ำเสมอ2. กลยุทธ์การเป็นผู้นำด้านต้นทุน ก็คือการเพิ่มกำลังการผลิตให้เต็มความสามารถ เพื่อที่จะได้จุดที่เรียกว่า การประหยัดจากขนาด (Economy of Scale)3. กลยุทธ์การตอบสนองอย่างรวดเร็ว ซึ่ง ณ ปัจจุบัน บริษัทฯ ก็ได้ดำเนินการอยู่แล้วอย่างสม่ำเสมอ เช่น การส่งมอบสินค้าตามกำหนดนอกจากกลยุทธ์ทั้ง 3 ด้านนี้แล้ว ทางบริษัทฯ ยังได้ทำการวิเคราะห์ในเรื่องเกี่ยวกับการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility Study) เกี่ยวกับการตั้งโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกเกรดบี (Secondary Plastic Pellet) โดยได้ทำการเก็บข้อมูลในด้านต่างๆ จากการสัมภาษณ์โดยตรงกับผู้ที่มีประสบการณ์ และจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกไทย กรมโรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ ทำให้ข้อมูลที่ได้มีความถูกต้องน่าเชื่อถือ และได้ผลของการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ โดยการใช้มาตรวัด 3 แบบ คือ1. มูลค่าปัจจุบัน (Net Present Value : NPV)2. อัตราผลตอบแทนของโครงการ (Internal Rate of Return : IRR)3. ระยะเวลาคืนทุน (Pay Back Period)ซึ่งผลของการวิเคราะห์ได้ค่าต่างๆ ดังนี้ ค่า NPV : จะเป็นบวก ณ ปีที่สอง แสดงว่า ผลตอบแทนที่ได้คุ้มค่ากับการลงทุน ค่า IRR : มีค่าเท่ากับ 35.23% ซึ่งเป็นค่าที่สูงมาก Pay Back Period เท่ากับ 2 ปี กับ 3 เดือน อีกทั้งยังได้ทำการวิเคราะห์ความไวของโครงการ (Sensitivity) ผลที่ได้คือ ค่า NPV : เป็นบวก ค่า IRR : อยู่ระหว่าง 22-26% และค่า Pay Back Period : อยู่ระหว่าง 2 ปีครึ่ง แสดงให้เห็นว่า ถึงแม้โครงการจะได้รับผลกระทบ แต่ผลที่ได้ก็ยังคุ้มค่ากับการลงทุน en
dc.language.iso th en
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.subject การแข่งขันทางการค้า en
dc.subject Competition en
dc.subject พลาสติก en
dc.subject Plastics en
dc.subject อุตสาหกรรมพลาสติก en
dc.subject Plastics industry and trade en
dc.subject การบริหารธุรกิจ en
dc.subject Industrial management en
dc.title การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันธุรกิจเม็ดพลาสติกเกรดบี : กรณีศึกษา บริษัท มิราเคิล เทคโนโลยี จำกัด en
dc.title.alternative Business Compettive Strategy of Recycle Plastic Industry : A Case Study of Miracle Technology Co., Ltd. en
dc.type Independent Studies en
dc.degree.name บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต en
dc.degree.level ปริญญาโท en
dc.degree.discipline บริหารธุรกิจ en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account