การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมผู้สูงอายุในพื้นที่เขตเมือง การพัฒนานวัตกรผู้สูงอายุและนวัตกรที่ทำงานกับผู้สูงอายุ การพัฒนาศูนย์นวัตกรรมผู้สูงอายุเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างข้อเสนอเชิง นโยบายในการผลักดันนวัตกรรมผู้สูงอายุให้เกิดความยั่งยืน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการ เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งจาก เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การจัดฝึกอบรม และการจัดสนทนากลุ่มในพื้นที่การศึกษา ได้แก่ เทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย เทศบาลตำบลบางเมือง จังหวัดสมุทรปราการ และเทศบาลตำบลเกาะคา จังหวัดลำปาง ผลการศึกษาพบว่า 1) องค์ความรู้ และงานด้านนวัตกรรมผู้สูงอายุในเขตเมืองมีจำกัด อย่างไรก็ตาม พบว่าผู้สูงอายุในชุมชนเมืองได้ร่วมกันพัฒนานวัตกรรมทาง สังคมด้านการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจเพื่อลดค่าใช้จ่ายของผู้สูงอายุ 2) เกิดนวัตกรผู้สูงอายุ 78 คนและนวัตกรที่ทำงานกับผู้สูงอายุ 79 คน 3) เกิดศูนย์นวัตกรรมผู้สูงอายุ 3 แห่ง มีนวัตกรรมผู้สูงอายุด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านสุขภาพ 5 ผลงาน ด้านการออม 1 ผลงาน ด้านสิ่งแวดล้อม 5 ผลงาน ด้านอาชีพ 4 ผลงาน ด้านสวัสดิการชุมชน 1 ผลงาน และด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น 3 ผลงาน นอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลให้แต่ละพื้นที่ประสบความสำเร็จในการ จัดตั้งศูนย์นวัตกรรมผู้สูงอายุ และข้อเสนอแนะต่อการพัฒนานวัตกรรม นวัตกรผู้สูงอายุและนวัตกรที่ทำงานกับผู้สูงอายุในเขตเมือง
The research aimed to study knowledge related to innovation for elderly in urban areas, to develop elderly innovators and innovators who work with the elderly, to develop elderly innovation center to reduce the social disparities, and create policy recommendations to drive the elderly innovation. Action research were used and collected data from documents, In-depth interviews, organized training, as well as organized group discussion in areas, including Muang Poo Chao Saming Phrai Municipality and Bang Muang Municipality in Samut Prakan Province, as well as Kho Kha Municipality in Lampang Province. The results revealed that 1) knowledge and research on innovation of the elderly in urban areas are limited. However, it is found that the elderly in urban communities have jointly developed social innovations by developing a model of long term-care for the elderly with dependency. Including, economic innovations are developed in order to reduce expenses of the elderly. 2) developed the elderly innovators of 78 persons and innovator that work with the elderly 79 persons. 3) emergence of the Center for Elderly Innovation in all three areas with the elderly innovations in various dimensions such as health dimension 5 pieces, saving group dimension 1 piece, environmental dimension 5 pieces, occupational 4 pieces, community welfare dimension 1 piece and local wisdom 3 pieces. This research also analysis key success factors in establishment of the Center and provides suggestions for the development of elderly innovations and innovators who working with the elderly in urban areas.