Abstract:
ภาวะการค้าในปี พ.ศ. 2549 มีการแข่งขันอย่างสูง ไม่ว่าจะเป็นระหว่างผู้ประกอบการภายในประเทศเอง หรือจากต่างประเทศ การศึกษาเพื่อให้ทราบถึงจุดเด่น และจุดด้อยของตนเองย่อมช่วยให้สามารถอยู่ในภาวะที่แข่งขันได้ สำหรับธุรกิจปลีกรองเท้าส้นสูงของสตรีก็เช่นเดียวกัน มีการแข่งขันอย่างสูงในระหว่างผู้ประกอบการด้วยดัน ส่งผลให้ยอดขายตกต่ำลง และปัญหาที่ตามมาก็คือ เกิดสินค้าคงคลังเป็นจำนวนมาก การศึกษาพฤติกรรมการซื้อทั้งด้านข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนประสมทางการตลาด ว่ามีความสัมพันธ์กับช่วงเวลาที่ซื้อรองเท้าส้นสูงมากที่สุด และจำนวนครั้งที่ซื้อรองเท้าส้นสูงต่อเดือน เพื่อนำผลที่ได้มาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และพัฒนาธุรกิจไปในทางที่ถูกต้อง ในฐานะที่ผู้วิจัยเป็นผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกรองเท้าส้นสูงนี้ ถ้าผู้ประกอบการได้รู้ว่า ส่วนใหญ่ลูกค้าจะเข้ามาสินค้าในช่วงเวลาดใ และปัจจัยที่ทำให้เกิดการซื้อซ้ำคืออะไร จะทำให้สามารถแก้ไขปัญหายอดขายที่ตกต่ำ และปัญหาสินค้าคงคลังที่เกิดขึ้น ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะการซื้อซ้ำหมายถึงความพึงพอใจของผู้บริโภค เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการทำการตลาดนั่นเอง กลุ่มตัวอย่างเลือกมาจากกลุ่มสตรีในพื้นที่แขวงบางรัก และปทุมวัน จำนวน 378 ตัวอย่าง โดยการสุ่มตัวอย่างที่ไม่คำนึงถึงความน่าจะเป็น ใช้หลักความสะดวก ประมวลผลข้อมูลโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ผ่านโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS for Windows เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติ โดยสถิติที่ใช้ประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณา คือ หลักสถิติที่รวบรวมข้อมูล และทำการวิเคราะห์เฉพาะกลุ่ม ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติเชิงอนุมาน คือ หลักสถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้น และตัวแปรตาม ได้แก่ การทดสอบไคส์-สแควร์ (Chi-Square Test) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.05จากผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่อายุ 20-29 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี/เทียบเท่า สถานภาพโสด อาชีพส่วนใหญ่เป็นนักเรียน/นักศึกษา มีรายได้ 5,001-10,000 ขนาดเท้าส่วนใหญ่ คือ Size 37 มีพฤติกรรมในการเลือกช่วงเวลาที่ซื้อรองเท้าส้นสูงมากที่สุด คือ ช่วงเวลา 15.01-18.00 น. ส่วนใหญ่ซื้อรองเท้าส้นสูง 1-2 ครั้งต่อเดือน ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อรองเท้าส้นสูง โดยลูกค้าให้ความสำคัญกับราคาเป็นลำดับแรก โดยมีปัจจัยต่างๆ เรียงลำดับลงมา คือ มีป้ายราคาบอกชัดเจน คุณภาพเหมาะสมกับราคาที่ตั้งด้านผลิตภัณฑ์ โดยข้อที่ให้ความสำคัญสูงสุดเรียงกันลงมา คือ มีรองเท้าให้ลูกค้าทุกขนาด มีรองเท้าสำหรับลอง มีการจัดรองเท้าตามแบบโทนสี ด้านการส่งเสริมการตลาด โดยข้อที่ให้ความสำคัญสูงสุดเรียงกันลงมา คือ มีบัตรสมาชิกใช้เป็นส่วนลด มีมุมสินค้าลดราคา สินค้าครบ 2 ชิ้น มีส่วนลดในชิ้นที่ 3 มีคูปองสะสมแต้ม ด้านสถานที่ โดยให้ความสำคัญกับการตกแต่งร้านจากการทดสอบสมมติฐานได้พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านขนาดเท้า มีผลต่อช่วงเวลาในการเข้ามาซื้อรองเท้าส้นสูง ผู้ที่มีขนาดเท้าไซร์เล็ก เบอร์ 5-6 และขนาดเท้าไซร์ใหญ่ เบอร์ 9-10 ต้องการเวลา ความเป็นส่วนตัวในการเลือก ในการลอง เพื่อให้ได้รองเท้าส้นสูงที่เหมาะสมกับเท้ามากที่สุด เพราะฉะนั้นในช่วงเวลาที่มีผู้ซื้อมากที่สุด คือ 15.00-18.00 น. ผู้ประกอบการต้องมีไซร์รองเท้าส้นสูงขนาดเล็ก และใหญ่เตรียมไว้เสมอ รวมถึงการเอาใจใส่ในตัวลูกค้าเป็นพิเศษ ลูกค้ากลุ่มนี้ก็จะกลับมาซื้อสินค้าของทางร้านอีกในอนาคต ปัจจัยส่วนบุคคลทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ อาชีพ รายได้ต่อเดือน และขนาดเท้า ล้วนมีผลต่อจำนวนครั้งที่ซื้อรองเท้าส้นสูงทั้งสิ้น ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกรองเท้าส้นสูง ต้องเลือกทำเลที่ตั้งกิจการที่มีลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย อายุ 20-29 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี สถานภาพโสด อาชีพนักเรียน/นักศึกษา รายได้ต่อเดือน 5,000-10,000 บาท ขนาดเท้าไซร์ 37 เป็นหลัก ถึงสามารถเพิ่มจำนวนครั้งในการเข้ามาซื้อได้ ปัจจัยส่วนประสมทางตลาดด้านผลิตภัณฑ์ ผู้ประกอบการต้องมีไซร์รองเท้าส้นสูงเตรียมไว้ให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายทุกขนาด มีรองเท้าสำหรับลอง และมีการจัดวางรองเท้าตามแบบโทนสีอย่างชัดเจน จะทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ และทำให้เกิดการซื้อซ้ำเกิดขึ้น และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านการสิ่งเสริมการตลาด ผู้ประกอบการต้องมีการให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย สมัครบัตรสมาชิกเพื่อใช้เป็นส่วนลด เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะลูกค้าที่เป็นสมาชิกจะรู้สึกว่าตนเองเป็นบุคคลพิเศษของทางร้าน มีสิทธิ์ที่จะสามารถซื้อผลิตภัณฑ์ได้ถูกกว่าลูกค้าทั่วไป จากนั้นทางร้านควรมีมุมสินค้าลดราคา เพื่อแก้ไขปัญหาสินค้าค้างสต๊อก และการซื้อสินค้นครบ 2 ชิ้น มีส่วนลดในชิ้นต่อไป ให้กับลูกค้าทั่วไป เป็นการเพิ่มจำนวนครั้งในการเข้ามาซื้อได้ ทำให้เกิดการซื้อซ้ำได้เป็นอย่างดี