งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจเพื่อให้ทราบความสอดคล้องของเครื่องมือประเมินอาการไม่พึงประสงค์จากยาและการตัดสินใจเลือกใช้ของเภสัชกรชุมชนในร้านยาแผนปัจจุบันในจังหวัดสุรินทร์ และทัศนคติต่อการเลือกใช้เครื่องมือประเมินอาการไม่พึงประสงค์จากยาของเภสัชกรชุมชนในร้านขายยาแผนปัจจุบันในจังหวัดสุรินทร์ โดยทำการสำรวจตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2565 ถึง มีนาคม พ.ศ. 2566 พบว่าจากกลุ่มตัวอย่าง 53 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ73.58 ) ระดับการศึกษาสูงสุดเป็นหลักสูตรการศึกษา 5 ปี (ร้อยละ 58.49) อายุอยู่ในช่วง 30-49 ปี (ร้อยละ 33.96) ประสบการณ์การทางานในร้านยาอยู่ในช่วง 5-10 ปี (ร้อยละ 30.19) ผู้เข้าร่วมการศึกษามีประสบการณ์ในการประเมินอาการไม่พึงประสงค์จากยาโดยเฉลี่ย 2 คน/เดือน และผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่เลือกใช้ Naranjo’s algorithm สำหรับประเมินอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากยามากที่สุด นอกจากนี้ผลสำรวจทัศนคติต่อการเลือกใช้เครื่องมือเพื่อใช้ประเมินอาการไม่พึงประสงค์จากยาพบว่าเครื่องมือประเมินอาการไม่พึงประสงค์จากยาที่ดีที่สุดได้แก่ 1) ข้อคำถามควรมีความชัดเจน ไม่ซับซ้อน (4.19 ± 0.86) 2) ผู้ใช้เครื่องมือควรมีความรู้เกี่ยวกับหลักการประเมินอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากยา (4.36 ± 0.62) 3) ข้อคำถามสามารถปฏิบัติจริงในร้านยา (4.00 ± 0.78)และ 4) ประโยชน์ต่อการช่วยตัดสินใจในการประเมินอาการไม่พึงประสงค์จากยา (4.06 ± 0.63) โดยสรุปผลการศึกษานี้มีประชากรและเวลาในการทำการศึกษาที่ค่อนข้างจากัด อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ได้อาจมีประโยชน์เพื่อเป็นแนวทางเพื่อปรับปรุงและการพัฒนาเครื่องมือในการประเมินอาการไม่พึงประสงค์ของเภสัชกรชุมชนต่อไปในอนาคต
This research was a survey study to know the consistency of drug adverse reaction assessment tools and decision making among community pharmacists in modern drug stores in Surin Province and the community pharmacist's attitudes towards the choice of Adverse Drug Reaction (ADR) assessment tools in Surin province. The survey was conducted from August 2022 to March 2023. We found that 53 participants were mostly female (73.58%), education level was a 5-year curriculum (58.49%), aged between 30-49 years (33.96%), working experience in a pharmacy was in range 5-10 years (30.19%), participants had been an average of 2 patients/month in assessing ADR and almost participants chose Naranjo's algorithm for assessing ADR. In addition, the results of the survey on attitudes towards the choice of tools for assessing adverse drug reactions found that the best ADR assessment tools were 1) the questions should be clear and uncomplicated (4.19 ± 0.86) 2) users should have knowledge of the principles of ADR assessment (4.36 ± 0.62) 3) questions that can be practiced in pharmacy shop (4.00 ± 0.78) and 4) useful for decision-making in assessing adverse drug reactions (4.06 ± 0.63). In conclusion, this study was limited in population and study time. However, the data may be useful as a guide to improve and develop tools for assessing adverse reactions among community pharmacists in the future.