การวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากิจกรรมทางกาย และความสัมพันธ์ของปัจจัยนํา ปัจจัยเสริม และปัจจัยเอื้อกับกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ในตําบลบางปลา อําเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป เป็นกลุ่มที่ช่วยเหลือตนเองได้หรือติดสังคม จํานวน 200 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (stratified random sampling) ตามเพศ แล้วสุ่มแบบง่ายด้วยการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ จํานวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ (chi-square) และสถิติสหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน (Spearman rank correlation coefficient) ผลการวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุมีกิจกรรมทางกายอยู่ในระดับปานกลาง (–x = 2.96, SD= 0.78) ปัจจัยนําพบว่า อาชีพมีความสัมพันธ์กับกิจกรรมทางกายอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value = 0.002) สําหรับเพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และรายได้ ไม่มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมทางกายทางสถิติ ความรู้และเจตคติเกี่ยวกับกิจกรรมทางกายมีความสัมพันธ์ทางบวกกับกิจกรรมทางกายอยู่ในระดับต่ําและปานกลาง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r = 0.379, 0.673 p-value = 0.000) ปัจจัยเสริม พบว่า แรงสนับสนุนจากครอบครัว แรงสนับสนุนจากอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน และแรงสนับสนุนจากชุมชน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.01 อยู่ในระดับต่ำ ปานกลาง และปานกลาง ตามลําดับ (r = 0.068, 0.64, 0.502 p-value = 0.000) ปัจจัยเอื้อ พบว่า สิ่งอํานวยความสะดวกมีความสัมพันธ์ทางบวกกับกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 อยู่ในระดับต่ํา (r = 0.378, p-value = 0.000)
The objectives of this cross-sectional descriptive research were to study the level of physical activities and to study the relationship of predisposing, reinforcing, and enabling factors with physical activities of the elderly people in a village, Bang Pla Sub-District, Bang Phli District, Samut Prakan Province. The sample was 200 independent elderly people with least 60 years of age in a village, Bang Pla Sub-District, Bang Phli District, Samut Prakan Province and was selected by using the stratified random sampling based on gender, then simple random sampling was used by a lottery. The questionnaire was used as a research tool for data collection. The obtained data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, chi-square test and Spearman’s rank correlation analysis. The results showed that the elderly people were in a moderate level of physical activities. (–x = 2.96, SD = 0.78). The predisposing factor was occupation, which had a correlation with the physical activities of the elderly people at a significance level of 0.05 (p-value = 0.002). Alternatively, gender, age, marital status, educational level, and income level had no significant correlation with the physical activities of the elderly people. Knowledge and attitudes about physical activity were positively correlated with physical activity at low and moderate levels at a significance level of 0.01 (r = 0.379, 0.673 p-value = 0.000). The reinforcing factors consisted of family support, which had a low positive correlation with the physical activities at a significance level of 0.01 (r = 0.068, p-value = 0.000). Similarly, support from the village health volunteers and support from the community had a moderate positive correlation with the physical activities of the elderly people at a significance level of 0.01 (r = 0.643, 0.502, p-value = 0.000). The enabling factor of the elderly people was facility, which had a low positive correlation with the physical activities at a significance level of 0.01 (r = 0.378, p-value = 0.000).