การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความผูกพัน และอํานาจการทํานายของปัจจัย สุขอนามัย ปัจจัยจูงใจ และวัฒนธรรมองค์กรของบุคลากรโรงพยาบาลบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาชนิดหาความสัมพันธ์ โดยปัจจัยสุขอนามัยและปัจจัยจูงใจใช้ทฤษฎีของเฮิร์ซเบริก (Herzberg) และวัฒนธรรมองค์กรใช้ทฤษฎีของคุกและแล็ฟเฟอร์ตี (Cooke and Lafferty) กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรประจําทั้งหมดในโรงพยาบาลบางพลีที่ถูกสุ่มเลือกแบบแบ่งชั้นภูมิ ตามประเภทการจ้างงาน จํานวน 206 คน ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา 202 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคําถามกับจุดประสงค์อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 ความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.934 เก็บข้อมูลเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ได้รับแบบสอบถามคืนร้อยละ 98.06 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถดถอย อย่างง่าย
จากการศึกษา พบว่า บุคลากรโรงพยาบาลบางพลี มีความผูกพันโดยรวมอยู่ในระดับสูง (–x = 4.05, SD = 0.39) และพบว่า ปัจจัยสุขอนามัยส่งผลต่อความผูกพันของบุคลากรอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (b = 0.635, p<0.05, R2=0.162) ปัจจัยจูงใจส่งผลต่อความผูกพันของบุคลากรอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (b = 0.600, p<0.05, R2 = 0.148) และวัฒนธรรมองค์กรส่งผลต่อความผูกพันของบุคลากรอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (b = 0.387, p<0.05, R2= 0.110) ผู้บริหาร โรงพยาบาลบางพลีสามารถนําข้อค้นพบจากการศึกษาไปกําหนดนโยบายและจัดกิจกรรมการเพิ่มความผูกพันของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสําคัญกับปัจจัยสุขอนามัย ปัจจัยจูงใจ และวัฒนธรรมองค์กร เนื่องจากส่งผลต่อความผูกพันของบุคลากรในโรงพยาบาล
This research aimed to study the employee engagement levels : the predictive hygiene factors, motivational factors and organizational culture of the Bangplee Hospital personnel, Samut Prakan Province. This research was a descriptive correlational study that used the hygiene factors and motivational factors theory of Herzberg and used the organizational culture theory of Cooke and Lafferty. The personnel who participated in the research analysis were the personnel of the Bangplee Hospital who were randomly sampled by stratified random sampling through this type of employment. The sample size was 206. The number of questionnaires returned was 202. The tool used for the data collection was the questionnaire which had been validated by 3 experts. The Index of Objective Congruence (IOC) of the questions was between 0.67 – 1.00. The reliability of the questionnaire was 0.934. The data were collected on November 2017. Return respondents were 98.06%. The data analysis used simple regression statistics. Results of this research, showed that the overall employee engagement of the Bangplee Hospital Personnel, was at a high level (–x = 4.06, SD = 0.40). The hygiene factors which effected the employee engagement by significance level was at 0.05 (b = 0.635, p<0.05, R2=0.162). The motivation factors affected the employee engagement at a statistical significance level of 0.05 (b = 0.600, p<0.05, R2 = 0.148). The organizational culture affected the employee engagement at a statistical significance level of 0.05 (b = 0.387, p<0.05, R2 = 0.110). The results of the study indicated that the administration of Bangplee Hospital can construct the policy and employee engagement activities to enhance the employee engagement levels : hygiene factors, motivation factors and organizational culture.