การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณผลผลิตกรดแลคติกจากการหมักเศษผลไม้แบบ ไร้อากาศภายใต้อุณหภูมิการหมักที่แตกต่างกัน ด้วยแบคทีเรีย Lactobacillusplantarum สายพันธุ์ TISTR 926 ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยการศึกษาแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ศึกษาปริมาณผลผลิตกรดแลคติกจากกระบวนการหมักเศษผลไม้แบบไร้อากาศ โดยใช้เศษผลไม้ 3 ชนิด ได้แก่ เปลือกแตงโม ซังขนุน และแกนสับปะรด ส่วนที่ 2 ศึกษาผลของอุณหภูมิการหมัก ที่มีต่อปริมาณผลผลิตกรดแลคติกที่เกิดขึ้น ผลการทดลอง พบว่า ผลผลิตกรดแลคติกที่ได้จากการหมักเปลือกแตงโม ซังขนุน และ แกนสับปะรด มีค่า 25, 56 และ 54 kg/ton ของน้ําหนักสับสเตรต เมื่อหมักเป็นระยะเวลา 4 วัน ภายใต้อุณหภูมิการหมัก 35°C เช่นเดียวกัน จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ พบว่า ค่าเฉลี่ยผลผลิตกรดแลคติกที่ได้จากการหมักเศษผลไม้ทั้ง 3 ชนิด มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) หลังจากหมักเป็นระยะเวลา 2 วัน และ 4 วัน และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) เมื่อหมักภายใต้อุณหภูมิการหมัก 35°C สําหรับการหมักเปลือกแตงโม ในขณะที่ ค่าเฉลี่ยผลผลิตกรดแลคติกที่ได้จากการหมักซังขนุนและแกนสับปะรด มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) เมื่อหมักภายใต้อุณหภูมิการหมัก 30°C 35°C และ 40°C อย่างไรก็ตาม เมื่อคํานวณค่าผลผลิตจําเพาะสูงสุดของกรดแลคติกที่ได้จากการทดลอง พบว่า มีค่าใกล้เคียงกัน โดยมี ค่าเท่ากับ 378.5, 359.5 และ 376.5 kg/ton VS (Volatile solid) ตามลําดับ สําหรับการหมัก เปลือกแตงโม ซังขนุน และแกนสับปะรด ภายใต้อุณหภูมิการหมัก 35°C ซึ่งจากผลการศึกษา ชี้ให้เห็นว่า อุณหภูมิการหมักที่เหมาะสมสําหรับการหมักกรดแลคติกแบบไร้อากาศ คือ อุณหภูมิการหมัก 35°C
The purpose of this experimental research was to study the lactic acid production from anaerobic fermentation of fruit waste under different fermented temperatures using Lactobacillusplantarum TISTR 926. The study consisted of two parts, the first part was to study lactic acid production under anaerobic fermentation of three kinds of fruit wastes; watermelon shell, jackfruit fiber, and pineapple core and the second part was to study the effect of fermentation temperature on the lactic acid production. It was found that, at 35°C, the lactic acid production from the fermentation of watermelon shell, jackfruit fiber, and pineapple core of 25, 56, and 54 kg/ton wt substrate were obtained after 4 days of fermentation under the same fermentation temperature of 35º°C. From the statistical analysis results, it was found that the obtained average values of lactic acid production from the fermentation of 3 kinds of fruit wastes showed significant difference (p < 0.05) after 2 days and 4 days of fermentation. In addition, there was the statistical significant difference (p < 0.05) under the fermented temperature of 35°C for the watermelon shell fermentation. Also, the average values of lactic acid production from the fermentation of jackfruit fiber and pineapple core showed significant difference (p < 0.05) under the fermented temperature of 30°C, 35°C and 40°C. However, the calculation of maximum specific yield of the obtained lactic acid from the experiment showed almost the same amounts such as 378.5, 359.5, and 376.5 kg/ton VS for the watermelon shell, jackfruit fiber, and pineapple core under the fermented temperature of 35º°C, respectively. The results indicated that the appropriate fermentation temperature for anaerobic fermentation of lactic acid was 35°C