งานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาแบบตรวจสอบอาคารสถานสงเคราะห์คนชราเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการด้านองค์ประกอบทางกายภาพที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยจากอัคคีภัย (2) สํารวจสิ่งอํานวยความสะดวกของอาคารด้านองค์ประกอบทางกายภาพที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยจากอัคคีภัยและ (3) เสนอแนวทางการปรับปรุงสิ่งอํานวยความสะดวกเพื่อความปลอดภัยจากอัคคีภัยของอาคารกลุ่มตัวอย่างจากผู้ใช้อาคารถูกคัดเลือกแบบเจาะจงจํานวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ ประกอบด้วย 1) ข้อมูลทั่วไปของผู้สูงอายุ 2) แบบตรวจสอบรายการของอาคาร และ 3) แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการเดินสัญจรการใช้พื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบทางกายภาพ 8 องค์ประกอบภายในอาคาร การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาผลวิจัยพบว่า1) ด้านองค์ประกอบทางกายภาพมีสิ่งกีดขวางในเส้นทางหนีไฟ บันไดที่ไม่ใช่บันไดหนีไฟไม่มีการติดป้ายสัญลักษณ์แสดงทิศ ตําแหน่ง อุปกรณ์เปิด-ปิดประตูทางออกอื่น ๆ เป็นชนิดลูกบิด ไม่มีแผนผังอาคาร ป้ายบอกทางหนีไฟ และไม่มีการติดตั้งระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ ทั้งแบบเสียง แสงระบบสั่นสะเทือนและปุ่มสัญญาณแจ้งภัย 2) ด้านพฤติกรรมการใช้พื้นที่ มีเพียงส่วนน้อยที่เคยเดินสะดุดสิ่งกีดขวางทางเดินนอกจากนี้ยังพบประเด็นอื่น ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องและส่งผลต่อความปลอดภัยจากอัคคีภัยโดยผู้ดูแลอาคารควรจัดให้มีการฝึกซ้อมอพยพหนีไฟอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
The objectives of this qualitative research were (1) to develop a checklist for a private nursing home building in Samut Prakan Province in terms of physical components related to fire safety, (2) to survey the facilities of the building in terms of physical components related to fire safety, and (3) to propose the guidelines for improving the facilities for the fire safety of the building. The recruited subjects were building users selected by purposive sampling, total of 29 subjects. The tools used were interviews consisting of 1) general information of the elderly, 2) a checklist of the building, and 3) an interview form for commuting behavior, space use related to 8 physical elements within the building. Data analysis using descriptive statistics. The results showed that 1) the physical component: there was an obstruction in the fire evacuation route; stairs that were not for an evacuation were not labeled to indicate direction, location. Other opening-closing devices for the exits were knob type. No building plan and fire escape sign was found. There was no installation of a fire alarm system, including sound, light, vibration system and alarm button 2) space usage behavior: only a few had ever stumbled upon an obstacle in the way. It was also found that there were other issues related to and affected the fire safety. The building superintendent should arrange a practice for fire evacuation drill at least once a year.