งานวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคชิคุนกุนยา (chikungunya) และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม กับพฤติกรรมการป้องกันโรคชิคุนกุนยา กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในตำบลบางปู อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 306 ราย ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ให้กลุ่มตัวอย่างตอบด้วยตนเอง ประกอบข้อมูลส่วนบุคคล ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม และพฤติกรรมป้องกันโรคชิกุนคุนยา ศึกษาระหว่างเดือนสิงหาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2562 วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริมกับพฤติกรรมการป้องกันโรคชิกุนคุนยา โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน (Spearman’s rank correlation coefficient)
ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมการป้องกันโรคชิกุนคุนยาอยู่ในระดับดี (x̄ =3.03, SD = 0.54) ปัจจัยนำ ปัจจัยเสริม ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคชิคุนกุนยาทางสถิติ แต่ปัจจัยเอื้อโดยรวมและในรายด้านประกอบด้วยความเพียงพอของทรัพยากรการป้องกันโรคชิกุนคุนยา และทักษะการใช้ทรัพยากรเกี่ยวกับโรคชิคุนกุนยามีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันโรคชิคุนกุนยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (r=0.336, 0.266, 0.324, p-value= 0.000) ผลกาวิจัยมีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานท้องถิ่นในพื้นที่จัดหาทรัพยากรในการป้องกันโรคชิคุนกุนยาและพัฒนาทักษะในการใช้ทรัพยากรในการป้องกันโรคชิกุนคุนยาให้กับประชาชน
The objectives of this cross-sectional description research were to determine the behavior of people towards chikungunya disease prevention and to analyse the relationship of predisposing, reinforcing, and enabling factors of behavior related to chikungunya disease prevention. The sample size was 306 people in Bangpu Subdistrict, Mueang Samut Prakan District, Samut Prakan Province and the participants were selected by using systematic random sampling. The tools used for data collection were questionnaires where the participants answered themselves. The questionnaires consisted of personal information, predisposing factors, reinforcing factors, enabling factors and attitude towards chikungunya disease prevention. The study was conducted between August and December 2019. We analysed the relationship between predisposing factors, reinforcing factors, enabling factors and attitude towards chikungunya disease prevention by using Spearman’s rank correlation analysis.
The results showed that the attitude towards chikungunya disease prevention of the people was positive and at a high level (x̄ = 3.03, SD=0.54). The predisposing factors and the reinforcing factors had too significant correlation with the attitude to chikungunya disease prevention. But the enabling factors and in each aspect : the sufficiency of resources for preventing chikungunya disease, and skills in using resources to prevent chikungunya disease had positive correlation with the attitude at a significance level of 0.05 (r=0.336, 0.266, 0.324, p-value = 0.000). The results of this research suggest that local authorities in the area should provide resources for preventing chikungunya disease, and help developing skills in using resources to prevent chikungunya disease.