วัตถุประสงค์: ศึกษาผลของการใช้สื่อมัลติมีเดียให้ความรู้สุขภาพจิต เพื่อลดภาวะหมดไฟในการเรียนของนักศึกษาพยาบาล
วัสดุและวิธีการ :การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนหลังกลุ่มทดลองเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จำนวนทั้งสิ้น 32 คน ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้าเครื่องมือเป็นแบบสอบถามออนไลน์ภาวะหมดไฟในการเรียน และสื่อมัลติมีเดียให้ความรู้สุขภาพจิตเรื่อง How to break burn out ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบเปรียบเทียบด้วย paired t-test
ผล : กลุ่มทดลองส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 96.9 อายุ 20 ปี ร้อยละ 56.3 อายุเฉลี่ย 20.50 ปี เกรดเฉลี่ยสะสม 2.50-3.00 ร้อยละ 75.0 ความต้องเข้าเรียนคณะพยาบาลศาสตร์ เป็นความต้องการของตนเอง ร้อยละ 75.0 นอนหลับไม่เพียงพอ ร้อยละ 93.8 ภายหลังการใช้สื่อเรื่อง How to break burn out นักศึกษามีภาวะหมดไฟในการเรียนต่ำลง (ก่อน 37.3±4.26,หลัง 11.1±5.42) เมื่อเปรียบเทียบรายด้าน ความอ่อนล้าทางอารมณ์ (ก่อน 18.3±2.16,หลัง 7.4 ±3.33) การลดความเป็นบุคคล (ก่อน 7.4±1.21,หลัง 1.4 ±1.21) การลดความสำเร็จส่วนบุคคล (ก่อน 11.6 ±1.81,หลัง 2.31 ±1.59) มีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (p-value <0.001)
สรุป: สื่อมัลติมีเดียให้ความรู้สุขภาพจิตเรื่อง How to break burn out ช่วยให้นักศึกษาพยาบาลสามารถจัดการกับภาวะหมดไฟในการเรียนของตนเองให้ลดลงได้
Objectives: The effects of multimedia in mental health educate on reducing study burnout among nursing students.
Material and Methods: The experimental group were 3rdyear nursing students from the faculty of nursing Huachiew Chalermprakiet university. The 32 samples qualified according to the selection criteria. The instrument was online questionnaires about the burn out, and How to break burn out which was multimedia in mental health learning. Data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation and paired t-test.
Results: The results found that: The most nursing students were female 96.9%, age 20 years old, 56.3%, average age 20.5 years, cumulative GPA 2.50-3.00, 75.0% studying nursing as their own needs 75.0%, insufficient sleep 93.8%. After using the media on how to break burnout, the students had a lower burnout in learning. (before 37.3 ±4.26, after 11.1±5.42). When comparing each factor were emotional fatigue (before 18.3±2.16,after 7.4±3.33),Depersonalization (before7.4±1.21,after1.4±1.21), Personal achievement reduction (before11.6±1.816,after 2.3±1.59) had a statistically significant lower mean score than before the experiment (p-value <0.001).
Conclusion: The Multimedia media to educate about mental health can reduce burnout in studying. Assisting nursing students with burnout It is necessary for students to be able to manage their burnout