การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะทางสังคมกับความสุขในการทํางานของผู้สําเร็จการศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 103 คนโดยเป็นผู้ที่สําเร็จการศึกษาและมีประสบการณ์การทํางาน 1 ปีขึ้นไปเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามประกอบด้วยสถานภาพส่วนบุคคลทักษะทางสังคมและความสุขในการทํางานโดยผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหา (Content Validity) มีความเที่ยงตรงของเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67 - 1.00 ทุกข้อและความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามเท่ากับ 0.938 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณผลการวิจัยพบว่าทักษะทางสังคมของผู้สําเร็จการศึกษาในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณารายด้านพบว่ารายด้านแต่ละด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากโดยทักษะด้านความสามารถในการปรับตัวมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดและทักษะด้านความฉลาดทางอารมณ์มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดส่วนความสุขในการทํางานของผู้สําเร็จการศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านความสัมพันธ์ในที่ทํางานมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดและด้านความสําเร็จในงานมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดเมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ในภาพรวมพบว่าทักษะทางสังคมมีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกกับความสุขในการทํางานและเมื่อพิจารณารายด้านพบว่าทักษะการตัดสินใจและแก้ปัญหาทักษะด้านการสร้างสัมพันธภาพและทักษะด้านความฉลาดทางอารมณ์มีผลต่อความสุขในการทํางานอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
The objective of the study was to examine the relationship between soft skills and happiness at work. The study population were students who graduated from private universities, with the sample size of 94 people who had graduated and had been working for 1 year or more. The research tool was a questionnaire, which included personal status, social skills, and job satisfaction; the content validity was between 0.67 and 1.00, and the content reliability was 0.938. The data was analyzed using statistical statistics, including the percentage, mean score, and standard deviation, and the relation was tested using inferential statistics by using multiple regression analysis. Soft skills results were overall at a high level. When each aspect was considered, it was found that the adaptive skills had the highest average and the emotional intelligence skills had the lowest. The overall level of happiness in the workplace was high. When each aspect was considered, it was seen that the interpersonal skills in work life had both the highest and the lowest averages. When the relationship was analyzed, it was found that social skills had a positive correlation with happiness at work. When each aspect was considered, it was found that decision-making and problem-solving skills interpersonal skills, emotional intelligence skills and social intelligence skills had a statistically significant effect on happiness at work at the 0.05 level.