บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การปรับตัวของตัวละครช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในละครโทรทัศน์ไทย จำนวน 3 เรื่อง ได้แก่ สี่แผ่นดิน คู่กรรมและ แหวนทองเหลือง ผลการวิจัยพบว่า การปรับตัวของตัวละครในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มี 2 ด้านใหญ่ คือ การปรับตัวภายนอก และการปรับตัวภายใน การปรับตัวภายนอก เป็นการปรับตัวด้านที่อยู่อาศัย โดยการสร้างหลุมหลบภัยขึ้นและการย้ายไปอยู่ที่อื่น การแต่งกาย ตัวละครต้องสวมหมวกเวลาออกจากบ้าน และมารยาททางสังคม มีการปรับตัวใช้คำ “สวัสดี” ทักทายเมื่อพบกันหรือจากลากันทุกครั้ง และเลิกกินหมากค้าขายหมากการปรับตัวภายนอกนี้มีสาเหตุสำคัญคือเพื่อรักษาความปลอดภัยในชีวิตและการปฏิบัติตนตามนโยบายของรัฐบาล ส่วนการปรับตัวภายใน เป็นการปรับตัวด้านความคิดและจิตใจให้เข้มแข็งพร้อมสู้กับภัยสงครามและความยากลำบากที่เป็นผลอันเนื่องมาจากสงคราม และตัวละครบางกลุ่มยังมีการปรับความคิดจากที่เคยยอมรับชาวญี่ปุ่นเป็นมิตรกลายเป็นความรู้สึกเกลียดและต่อต้าน การปรับตัวภายในนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่สำคัญคือการต่อต้านญี่ปุ่นและการเกิดขบวนการเสรีไทย
This research aimed to analyze three Thai television dramas Si-Phaen-Ding, Kho-Kam,
Waen-Thong-Lueang, focusing on the adjustment of characters, representing Thai people living during World War II. From the study, two aspects of adjustment were found as the following. 1) Physical aspect included constructing bunkers near dwelling places or moving to new shelters; performing accordingly to the new social manner codes announced by the government wearing hats when being outdoor; saying “Sawasdee” as a greeting and farewell word; and stopping chewing and trading “Mark,” a traditional Thai gum. All these physical adjustments helped the characters maintain their personal safety and be conformists to new practices of the state. 2) Mental aspect covered changing of thoughts and strengthening minds in order to fight against risks and hardness caused by the war. Some characters changed their attitudes toward Japanese people from being friendly to hateful and being against them. These mental adjustments, in some intellectuals, consequently formed up the Free Thai Movement.