การวิเคราะห์สารคดีโทรทัศน์ “ตามอำเภอจาน”พ.ศ.2563 มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณค่าด้านการถ่ายทอดเนื้อหาของสารคดีโทรทัศน์ “ตามอำเภอจาน”พ.ศ. 2563 ที่ออกอากาศทางอมรินทร์ทีวี ช่อง 34 ในระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม ปี พ.ศ.2563 ถึงวันที่ 26 กันยายน ปี พ.ศ.2563 รวมทั้งสิ้น 38 ตอน โดยใช้กรอบแนวคิดเกี่ยวกับคุณค่าของสารคดีโทรทัศน์ที่มีต่อผู้ชมและนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่าคุณค่าของสารคดีโทรทัศน์ “ตามอำเภอจาน”สามารถแบ่งเป็น 4 ประเด็น ได้แก่ 1) การให้ความรู้ในด้านต่าง ๆ คือ ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการประกอบอาหาร ภูมิปัญญาชาวบ้านและวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น 2) การให้ความบันเทิง ผู้ชมสามารถได้รับความสนุกสนานจากคำพูด การแต่งกาย ดนตรีประกอบ และความไม่ชำนาญในการตามหาวัตถุดิบของพิธีกร ได้พักผ่อนหย่อนใจไปกับบรรยากาศที่คึกคัก รื่นเริง 3) การให้แนวทางในการดำเนินชีวิตมีทั้งการพึ่งพาธรรมชาติ การใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และการใช้ชีวิตด้วยคุณธรรม ผู้ชมสามารถปรับใช้เป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิตและ 4) การช่วยส่งเสริมชุมชนท้องถิ่น และการเป็นสื่อกลางในการเชิญชวนให้ผู้ชมเดินทางมาท่องเที่ยวและทำให้ผลิตภัณฑ์ในชุมชนได้เข้าสู่สายตาผู้ชมโดยรูปแบบที่มีเสียงนำเสนอและมีรูปภาพเคลื่อนไหว ภาษาท้องถิ่นที่ปรากฏบนหน้าจอ ทำให้ผู้ชมได้เห็นถึงอัตลักษณ์ของท้องถิ่นคุณค่าเหล่านี้ ถือเป็นมุมมองที่ปรับใช้ในการดำรงชีวิตได้ ทั้งยังเป็นช่องทางที่ดีสำหรับการเผยแพร่เสน่ห์ของชุมชน
This research aimed to analyze contributions of dissemination of content in Tam-Ampher-Chan, a Thai television documentary series, thirty-eight episodes broadcasted from January 11 to September 26, 2020. The findings were reported as a descriptive analysis.
Four aspects of notable contributions of the studied work were as the following. 1) Various wisdom, relating food; cooking techniques; local wit; and ways of community life, was richly presented.2) Entertaining elements, including speeches; gestures; and background sound and music, joyfully attracted and relaxed the audience. 3) Guidance for living, referring to awareness and making uses of the prosperous nature; the principles of sufficiency economy; and the moral living, was practically presented.4) Communities and their charm, including products; tourist attractions; and local dialects and identities, were spread and afterward created notability to the locations. All stated contributions showed the double strength, art and science, of the communication media.