บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์วาทกรรมหญิงรักหญิงในละครโทรทัศน์เรื่อง รากแก้ว ออกอากาศทางช่อง Ch3Thailand ปี พ.ศ. 2565 ผลการวิจัยพบว่า ในเรื่อง รากแก้ว ได้นำเสนอ วาทกรรม 2 ด้านใหญ่ ได้แก่ 1) วาทกรรมที่กดทับตามกระแสหลัก ได้แก่ หญิงรักหญิงยังไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม เห็นได้จากตัวละครผู้หญิงในกลุ่มนี้ จะถูกมองเป็นตัวประหลาด และถูกดูถูกเหยียดหยาม และหญิงรักหญิงไม่สามารถหลุดพ้นความคิดปิตาธิปไตยได้ เห็นได้จากการนำบทบาทของผู้ชายไปผูกกับความสัมพันธ์แบบหญิงรักหญิงที่ฝ่ายหนึ่งจะต้องสวมบทบาทเป็นฝ่ายชาย 2) วาทกรรมสร้างความหมายใหม่ ได้แก่ หญิงรักหญิงเป็นเรื่องของสิทธิส่วนบุคคล โดยเห็นได้จากการบรรยายถึงความรู้สึก นึกคิดของตัวละครกลุ่มหญิงรักหญิงว่า ทุกคนมีสิทธิเลือกที่จะรัก เลือกที่จะเป็น และหญิงรักหญิงประสบความสำเร็จได้ด้วยความสามารถของตนเอง เห็นได้จากการประกอบสร้างภูมิหลังด้านฐานะและอาชีพของ ตัวละครกลุ่มหญิงรักหญิง
This research article aimed to analyze discourses of female homosexuals in Rakkaew, a TV drama broadcasted on Ch3 Thailand in 2022. The study found two distinctive discourses of female homosexuals, including 1) discourse that is suppressed by the mainstream and 2) discourse that creates a new meaning. For discourse that is suppressed by the mainstream, female homosexuals were rejected by the society; these females seemed abnormal and disdained. They were inescapable from the patriarchal ideology. This reflected through one of the couple would perform the male role. For discourse that creates a new meaning, the female homosexuals perceived their love as individual rights. This shown in dialogues of female homosexual characters expressing their liberal thoughts of love and being that they could choose to do or be. The successes could be gained by their own abilities, which were structured through the background, statuses and professions, of the female homosexual characters.