บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภาพแทนคนชั้นล่างที่ปรากฏในนวนิยายเรื่อง หลังเที่ยงคืน ของ จำลอง ฝั่งชลจิตร ผู้วิจัยได้นำแนวคิดภาพแทน คู่ตรงข้าม คนชั้นล่าง และสตรีนิยมมาใช้เป็นแนวทาง ในการวิเคราะห์และเสนอผลการศึกษาด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า ภาพแทนคนชั้นล่างที่ปรากฏในนวนิยายเรื่อง หลังเที่ยงคืน มีอยู่ 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) การดำรงชีวิตอย่างยากจนลำบาก โดยคนชั้นล่างยึดถือวัตถุมากกว่าการยึดถือจิตใจ และ 2) การถูกเหยียดหยามศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ได้แก่ ผู้หญิงถูกเหยียดหยามเป็นเหยื่ออยู่ภายใต้อำนาจของผู้ชาย คนชั้นล่างถูกเหยียดหยามที่จะต้อง ดำรงชีวิตอยู่ภายใต้อำนาจจากคนชั้นสูงกว่าจนไม่มีสิทธิ์ในการต่อรอง และคนชั้นล่างมีการเหยียดหยามระหว่างกัน
This article aimed to analyse representations of the lower class appreared in After Midnight, a novel by Chumlong Fungcholachit. Ideas of dual representations; lower classes; and feminism are guidances of the study. The findings were reported as a descriptive analysis. Two major representations of the lower class were found in the studied novel, including 1) the poor living and 2) the disgrafuceful. The lower class was a victim of destitute power, women were abused of their human dignity and controlled by male power. The lower class was disdained by the higher classes. Their living was beneath the power of others; they had no rights to negotiate