DSpace Repository

การปรับตัวทางด้านวัฒนธรรมของคนไทยที่อาศัยอยู่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ: กรณีศึกษาช่อง YouTube “PEACHII”

Show simple item record

dc.contributor.author Wei Yu
dc.contributor.author สุธิดา สุนทรวิภาต
dc.contributor.author Suthida Soontornwipat
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts. Student of Doctor of Arts Program en
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts en
dc.date.accessioned 2024-10-27T09:32:29Z
dc.date.available 2024-10-27T09:32:29Z
dc.date.issued 2023
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3157
dc.description การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 14 (14th Hatyai National and International Conference) วันศุกร์ที่ 14 พฤษภาคม 2566 ณ ห้องประชุม Blue Ocean Hall อาคารคณะบริหารธุรกิจ โดย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และ Online Conference : หน้า 341-355 en
dc.description สามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็ม (Full text) ได้ที่ : https://www.hu.ac.th/conference/proceedings/doc/04%20%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%20Hu/9-Hu-085%20(%20341-355).pdf en
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กระบวนการปรับตัว 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัว ด้านวัฒนธรรม 3) อุปสรรคและแนวทางการในการปรับตัวด้านวัฒนธรรมของคนไทยที่อาศัยอยู่ใน กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ: กรณีศึกษาช่อง YouTube “PEACHII” โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วย การวิเคราะห์ข้อมูลจากช่อง YouTube “PEACHII” ผลการวิจัยพบว่า ในด้านกระบวนการปรับตัว มี 4 ขั้น ได้แก่ 1) ขั้นตื่นตาตื่นใจ คนไทยเข้าไปอยู่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ด้วยความประทับใจครั้ง แรกทั้งด้านบวก และด้านลบในสภาพภูมิอากาศ 2) ขั้นตระหนกทางวัฒนธรรม พบว่า มีความแตกต่าง วัฒนธรรมการถอดรองเท้าเข้าบ้านระหว่างสองประเทศ รู้สึกยากที่จะเข้ากับวัฒนธรรมของอีกฝ่าย 3) ขั้น เรียนรู้วัฒนธรรมใหม่ คนไทยที่อาศัยอยู่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษมีการเรียนรู้ด้วยวิธีการคบหา สมาคมกับเพื่อนคนลอนดอน เพื่อได้เรียนรู้ชีวิตจริงในสังคมและวัฒนธรรมของประเทศอังกฤษ 4) ขั้น ปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมใหม่ คนไทยที่อาศัยอยู่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ สามารถปรับตัวเข้ากับ สภาพแวดล้อมและสถานการณ์ที่พบเห็นบ่อยในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เริ่มได้รับการยอมรับใน วัฒนธรรมของประเทศเจ้าบ้านในฐานะ “คนท้องถิ่น” ในด้านปัจจัยที่มีผลต่อการปรับตัว มีความสัมพันธ์ กับปัจจัย 3 ด้าน 1) บุคลิกนิสัย คนไทยที่อาศัยอยู่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ มีความกล้าหาญ พอที่จะรับกับสิ่งใหม่ ๆ มีความพยายามกับการทำงาน ทำให้คนไทยเข้ามาอยู่กรุงลอนดอนเข้ากับสังคม วัฒนธรรมของประเทศอังกฤษได้ 2) ความแตกต่างทางความคิด คนไทยที่อาศัยอยู่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ มีความแตกต่างทางความคิดด้านต่าง ๆ อาทิ เรื่อง ค่าสินสอดในงานแต่งงาน และเรื่อง การข้ามถนน อาจทำให้การเข้ากับวัฒนธรรมใหม่เกิดความไม่ราบรื่น จนทำให้การปรับตัวได้ช้า 3) ความ ประทับใจแรกต่อสังคม คนไทยที่อาศัยอยู่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษมีความประทับใจที่ดีต่อวิธีการ ชำระเงินที่ไร้เงินสด ในด้านอุปสรรคของการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมพบ 2 ข้อ ได้แก่ 1) อุปสรรคด้านความไม่รู้ภาษาและวัฒนธรรม คนไทยที่อาศัยอยู่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษมีอุปสรรคด้านการใช้ภาษาใน สถานการณ์ต่าง ๆ 2) อุปสรรคด้านความรู้สึก คนไทยที่อาศัยอยู่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษมี ความรู้สึกกลัวกับการรักษาพยาบาลที่อังกฤษ ส่วนแนวทางการแก้อุปสรรคของการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม พบ 2 แนวทาง ได้แก่ 1) การเพิ่มความรู้ด้านภาษาและวัฒนธรรมโดยการเรียนรู้ถึงวิถีชีวิตของคนท้องถิ่น โดยการสอบถาม หรือเรียนรู้ภาษา วัฒนธรรมจากแอปพลิเคชันจากเจ้าของภาษา และ 2) การสร้าง ความสัมพันธ์กับคนลอนดอนในถิ่นที่อาศัยอยู่ en
dc.description.abstract This qualitative research aims to study the cultural adjustment of Thai residents in London, United Kingdom: A case study from “PEACHII” in the YouTube channel. The objectives of this research were to study 1) the process of adaptation 2) the factors influencing adaptation ,and 3) the obstacles of and approaches to cultural adaptation. Qualitative methodology was used to conduct analysis. The data was collected from “PEACHII” in the YouTube channel. The results revealed that there were four adjustment phases of Thai residents in London, United Kingdom as the following; 1) Honeymoon stage, London climate attracted first impression of the Thai residents. 2) Hostility stage, different cultures like taking off shoes at home caused uneasiness. 3) Recovery stage, Thai residents befriended Londoners and learned about real lives in the new cultural society. 4) Final stage, Thai residents in London could adjust themselves to usual events and be accepted as “local people” by the host culture. For effects on adjustment, three factors are concerned, including 1) personality, Thai residents in London were optimistic towards new things and worked hard, so they could go along with the London society. 2) Different perceptions, for example ideas about dowry or traffic regulations like crossing road, obstructed and slowed the adjustment. 3) First impression, the no-cash payment in London impressed Thai residents a lot. Relating to obstacles in cross-cultural communication, two bars are noted, including 1) illiteracy of language and culture for situations; and 2) fearfulness of medical care. Two suggestions for solving the cross-cultural communication obstacles are proposed, including 1) acquiring knowledge of language and culture in local residences through mobile applications, both asking questions and learning language and culture are available; and 2) creating relationships with the neighborhood. en
dc.language.iso th en
dc.rights คณะกรรมการการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ en
dc.subject การปรับตัวทางสังคม en
dc.subject Social adjustment en
dc.subject ยูทูบ en
dc.subject YouTube (Electronic resource) en
dc.subject การวิเคราะห์เนื้อหา en
dc.subject Content analysis (Communication) en
dc.subject ชาวไทย – สหรัฐอเมริกา en
dc.subject Thais -- United States en
dc.subject การผสมกลมกลืนทางสังคม
dc.subject Assimilation (Sociology)
dc.title การปรับตัวทางด้านวัฒนธรรมของคนไทยที่อาศัยอยู่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ: กรณีศึกษาช่อง YouTube “PEACHII” en
dc.title.alternative Cultural Adjustment of Thai Residents in London, United Kingdom: A Case Study from “PEACHII” in the YouTube Channel en
dc.type Proceeding Document en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account