บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการนำเสนอภาพแทนธรรมชาติในนวนิยายเรื่อง หมู่บ้านอาบจันทร์ของมาลา คำจันทร์ ผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพตามกรอบแนวคิดภาพแทนและแนวคิด กลวิธีการนำเสนอ วิเคราะห์ตัวบทวรรณกรรมโดยพิจารณาจากความหมายของคำประพันธ์ผลการวิจัย พบว่า ภาพแทนธรรมชาติในนวนิยายเรื่อง หมู่บ้านอาบจันทร์ของมาลา คำจันทร์มีการนำเสนอ 2 ด้าน คือ 1) การนำเสนอภาพแทนธรรมชาติด้านดี พบว่า ผู้เขียนนำเสนอความงาม ประโยชน์ และความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติผ่านตัวละครที่เป็นมนุษย์ นำเสนอว่าธรรมชาติให้ประโยชน์มากมายแก่มนุษย์ เป็นแหล่งอาหาร เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์และนำเสนอผ่านฉาก ได้แก่ เวลา ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ พืช ที่เป็นอุปกรณ์ประกอบฉาก และสัตว์ที่เป็นส่วนประกอบของฉาก นำเสนอว่าช่วงฤดูฝนชาวบ้านมีแหล่งน้ำ สามารถปลูกพืชผักต่าง ๆ ได้ดีพืชมีประโยชน์มากมาย เป็นทั้งอาหาร ยา และวัตถุดิบสร้างบ้านของมนุษย์ 2) การนำเสนอภาพแทนธรรมชาติด้านร้าย พบว่า ผู้เขียนนำเสนอความโหดร้าย ความอันตราย ภาพที่น่า กลัวของธรรมชาติผ่านตัวละครที่เป็นมนุษย์ สัตว์ตัวร้าย และอากาศที่แห้งแล้ง นำเสนอว่าธรรมชาติอาจทำ ร้ายชีวิตผู้คนได้ ธรรมชาติมีสิ่งที่น่ากลัวซ่อนอยู่ในนั้นทำให้ชาวบ้านหวาดกลัว เป็นต้น
This article aims to study techniques of presenting the nature in Moo-ban Arpchan, a novel by Mala Kumchan. Qualitative study techniques of representations; presentation techniques; and text analysis and interpretation are research methodologies. The study finds two major representations of the nature in the studied novel, including 1) the beneficial nature, attraction; usefulness; and fruitfulness of the nature were presented through human characters as their food and residences, while through setting the natural phenomena, including plants and animals, during the rainy season provided water for agriculture and consequently brought food; medicine and raw material for housing. 2) The frightening nature, presented through human and animal characters and the drought, might harm human lives; fearful dangers were hidden in the nature which the neighborhood should be scared.