บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษามายาคติที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านของชนเผ่าไต ฉบับสรรพ นิพนธ์นิทานพื้นบ้านชนเผ่าไต (傣族民间故事集 DAI ZU MIN JIAN GU SHI JI ) รวบรวมโดย YAN XIANG จัดพิมพ์ที่สำนักพิมพ์ประชาชนยูนนาน มณฑลยูนนาน ในปีพ.ศ. 2552 ผู้วิจัยได้นำแนวคิด มายาคติมาใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์และนำเสนอผลการศึกษาด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า มายาคติที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านชนเผ่าไตมี 3 ประการ ได้แก่ 1) มายาคติว่า ด้วยเรื่องชายเป็นใหญ่ เสนอผู้ชายเป็นใหญ่ทั้งในครอบครัว การเลือกคู่ การศึกษา และการประกอบอาชีพ แสดงให้เห็นถึงการยกย่องให้ผู้ชายชาวไตอยู่เหนือหญิงไต 2) มายาคติว่าด้วยเรื่องการปกครอง เสนอผู้ชาย เป็นผู้มีอำนาจในการปกครองชุมชน มีอำนาจในการตัดสินคดีความและให้คำแนะนำเมื่อเกิดปัญหา และ เป็นเทวดาที่ปกครองหมู่บ้านให้พ้นจากเคราะห์ร้าย แสดงให้เห็นถึงชาวไตมีคติความเชื่อว่าอำนาจมักจะถูก กำหนดไว้ให้ผู้ชายมีอำนาจเหนือกว่าผู้หญิง 3) มายาคติว่าด้วยเรื่องชนชั้น เสนอคู่ตรงข้ามของชนชั้นทาง เศรษฐกิจระหว่างคนจนกับคนรวย ซึ่งคนชั้นล่างต้องดำรงชีวิตอยู่ภายใต้อำนาจชนชั้นสูง จนไม่มีสิทธิ์ ต่อรองกับชนชั้นสูง แสดงให้เห็นความไม่เท่าเทียมกันระหว่างคนชั้นล่างกับชนชั้นสูง
This article aims to discuss myths of power shown in folktales of the Tai Tribe in the Anthology of Tai Folktales by Yan Xiang, published in 2009 by Publishing House of Yunnan People, Yunnan Province, People’s Republic of China. Roland Barthes’ ideas of myths are applied in the study; findings are reported as a descriptive analysis. Three myths of power are found in the folktales studied, including 1) myths of power in family, Tai families were patriarchal; males were dominant in courtship, education and professions. Females were inferior. 2) Myths of governmental power, males were the governer of communities, judging conflicts and giving suggestions for solving problems; males were also the protective spirits of villiages. These reflected beliefs of Tai people that males possessed power over females. 3) Myths of economical power, shown in dual classes of the rich and the poor. The lower class lived their lives beneath power of the high class, having no right to negotiate with the weathies. This showed inequalities of classes in Tai tribe.