การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอนุภาคที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านชนเผ่าว้า ผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาวิจัยเอกสาร (Documentary Research) และการวิเคราะห์ตัวบทนิทานพื้นบ้านชนเผ่าว้าจากหนังสือรวมนิทานพื้นบ้านชนเผ้าว้า ผลการศึกษาพบว่า อนุภาคที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านชนเผ่าว้าแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ได้แก่ อนุภาคตัวละคร อนุภาควัตถุสิ่งของ และอนุภาคเหตุการณ์ สอดคล้องกับทฤษฎีอนุภาคนิทานพื้นบ้านของ สติธ ทอมป์สัน ซึ่งทั้งสามอนุภาคนี้ทำให้เห็นลักษณะสังคมเผ่าว้าในด้านการยึดมั่นคุณธรรม ได้แก่ การทำความดี ความกล้าหาญ กตัญญูรู้คุณ การเสียสละ นับถือวีรบุรุษ ด้านลักษณะพื้นที่อยู่อาศัย อาศัยอยู่บริเวณหุบเขา เป็นกลุ่มชนเผ่าที่พึ่งพาธรรมชาติโดยเฉพาะทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ด้านความเชื่อ มีความเชื่อที่เกี่ยวกับธรรมชาติ ความเชื่อเรื่องการทำนาย และความเชื่อเทพเจ้าเป็นสำคัญ
This qualitative research aimed to study motifs in folktales of the Wa Tribe that translated into Thai. Research methodology included a documentary study and an analysis of folktales in the Collections of the Wa Folktales. The research observed three main types of motifs in the Wa Folktales, including the characters motif; the objects motif; and the events motif, according to Stith Thompson’s theory of motifs in folktales. The three observed motifs reflected nature of the Wa society, which for the moral aspect focusing on promotions of good conducts; bravery; gratitude; sacrifice; and heroic conducts. Relating to dwelling of the tribe, the folks resided along valleys because of their dependence on the nature – especially wild resources of woods and animals. For beliefs of the tribe, the Wa was mainly faithful in the nature; prophecies; and gods.