DSpace Repository

การประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (ฉบับปี พุทธศักราช 2562) มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

Show simple item record

dc.contributor.author พงศ์พัชรา กวินกุลเศรษฐ์
dc.contributor.author พรรษมนต์ เลิศเฉลิมทิพากุล
dc.contributor.author ขวัญชนก สืบสุข
dc.contributor.author ศุภประวัติ สันทัด
dc.contributor.author พิชญ์สินี ขาวอุไร
dc.contributor.author Pongpatchara Kawinkoonlasate
dc.contributor.author Passamon Lertchalermtipakoon
dc.contributor.author Khwanchanok Suebsook
dc.contributor.author Supaprawat Santad
dc.contributor.author Phitsinee Khaourai
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts en
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts en
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts en
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts en
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Liberal Arts en
dc.date.accessioned 2024-11-02T13:34:10Z
dc.date.available 2024-11-02T13:34:10Z
dc.date.issued 2024
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3199
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณในรูปแบบผสมผสาน (Mixed Methods) มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาของหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) โดยมีขอบเขตการวิจัยครอบคลุม 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ซึ่งมีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 5 กลุ่ม ได้แก่ 1. นักศศึกษาปัจจุบัน 2. อาจารย์ผู้สอน 3. บัณฑิตหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ 4. ผู้ใช้บัณฑิตและ 5. ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรจากภายนอก ในการวิจัยครั้งนี้เครื่องมือวิจัยที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามที่ใช้มาตรวัด 5 ระดับ จำนวน 5 ชุด สำหรับกลุ่มตัวอย่างแต่ละกลุ่ม และการจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group) ร่วมกับผู้ใช้บัณฑิตและตัวแทนสถานประกอบการ และศิษย์เก่าที่จบการศึกษาจากหลักสูตรฯ คณะผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพแบบการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) เพื่อนำผลวิจัยไปใช้ในการปรับปรุงหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ให้ตอบสนองความต้องการของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม และมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น โดยผลการวิจัยในการประเมินหลักสูตรทั้ง 4 ด้าน มีดังนี้ 1. ผลการประเมินด้านบริบท จากการวิเคราะห์กลุ่มตัวอย่างทั้ง 5 กลุ่ม เห็นพ้องว่าหลักสูตรได้ดำเนินการจัดกระบวนการเรียนการสอนได้ตรงกับปรัชญาของหลักสูตรที่ตั้งไว้ในระดับมาก คือ ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างี มีทักษะทางด้านภาษาศาสตร์ วรรณคดีภาษาอังกฤษและการแปล มีความเข้าใจในวัฒนธรรมที่หลากหลาย สามารถประยุกต์ใช้ความรู้เข้ากับการทำงานและการศึกษาต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตรงกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรทั้ง 3 ข้อ ในระดับมากที่สุด นอกจากนี้จากการประเมินพบว่า โครงสร้างหลักสูตรมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด 2. ผลประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่าโครงสร้างหลักสูตรมีจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรและในทุกหมวดวิชา (วิชาศึกษาทั่วไป, วิชาเอกบังคับ, วิชาเอกเลือก, วิชาโท, วิชาเลือกเสรี) มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด เนื้อหาวิชาในหลักสูตรมีความเหมาะสมระดับมากในหมวดวิชาเอกบังคับและหมวดวิชาเอกเลือก รายวิชาแกน รายวิชาเฉพาะด้าน กลุ่มทักษะทางภาษา กลุ่มวิชาภาษาศาสตร์ กลุ่มวิชาการแปล รายวิชาเอกเลือก รายวิชาฝึกประสบการณ์ มีความสำคัญและประโยชน์ระดับมาก-มากที่สุด และรายวิชากลุ่มวรรณคดีมีความสำคัญและประโยชน์ระดับปานกลาง ในส่วนของผู้สอนพบว่าผู้สอนมีคุณวุฒิ ประสบการณ์ และความสามารถในการสอนของอาจารย์ มีความเหมาะสมระดับมาก นอกจากนี้เรื่องของตำราและเอกสารประกอบการสอนที่ใช้ในการเรียนการสอนมีความเหมาะสมและพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง ห้องเรียนและสื่ออุปกรณ์มีความเหมาะสมระดับปานกลาง และห้องสมุดความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง 3. ผลประเมินด้านกระบวนการพบว่า ในภาพรวมหลักสูตรฯ มีกระบวนการจัดการเรียนการสอน การลงการวัดและการประเมินผล การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ให้นักศึกษา และระบบดูแลช่วยเหลือนักศึกษาที่มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับปานกลางถึงมากที่สุด จากผลการประเมินผู้เรียนมีความเห็นว่าด้านระบบอาจารย์ที่ปรึกษาที่ดูแลช่วยเหลือนักศึกษาในระดับมากที่สุด 4. ผลประเมินด้านผลผลิต พบว่าผู้ใช้บัณฑิตมีความพึงพอใจต่อคุณภาพของบัณฑิตหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยรวม 5 ด้านเท่ากับ 4.17 ในด้านคุณธรรม จริยธรรม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.38 ด้านความรู้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.07 โดยผู้เรียนมีทักษะทางภาษาที่ดี สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการทำงานในองค์กรได้จริง และสามารถสื่อสารกับชาวต่างประเทศได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ด้านทักษะทางปัญญา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.04 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.15 และด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.13 นอกจากนี้ พบว่าบัณฑิตมีจุดเด่นในด้านคุณธรรม จริยธรรม มีความอดทน มีน้ำใจ ช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน มีความประพฤติเรียบร้อย รู้จักปรับตัว รับฟังความคิดเห็นจากเพื่อนร่วมงาน มีความมั่นใจ กล้าแสดงออก และมีความคิดสร้างสรรค์ อย่างไรก็ตาม บัณฑิตควรเพิ่มความละเอียดรอบคอบในการปฏิบัติงานให้มากขึ้น
dc.description.abstract This research was a quantitative study employing mixed methods. The objective was to analyze and evaluate the quality of educative management for the Bachelor of Arts in English program (Revised Curriculum, 2019). The scope of the research covers four aspects: context, input, process, and output. Data was collected from five sample groups: 1) current students, 2) instructors, 3) graduates of the Bachelor of Arts in English program 4) employers of the graduates, and 5) external curriculum experts. The research instruments used include five sets of questionnaires, each employing a 5-point Likert scale, tailored for each sample group. Additionally, focus group discussions were conducted with employers, representatives from workplaces, and alumini of the program. The research team analyzed the quantitative data using descriptive statistics (percentage, mean, and standard deviation) and the quantitative data using content analysis. The purpose is to utilize the research findings to improve the Bachelor of Arts in English program, ensuring it meets the needs of all stakeholders and is more appropriate. The results of the curriculum evaluation across the four aspect are as follows: 1. Content Evaluation: The analysis from all five groups of participants shows a strong agreement that the curriculum effectively aligns with its stated philosophy. The curriculum aims to produce graduate proficient in English, with skills in linguistics, English literature and translation, and an understanding of diverse cultures. Graduates should be able to apply their knowledge efficiently in work and further education, meeting the program’s three objectives to the highest degree. Additionally, the curriculum structure is deemed highly appropriate. 2. Input Evaluation: The evaluation reveals that the overall credit structure of the curriculum, including all subject categories (general education, required major courses, elective major courses, minor courses, and free electives), is highly appropriate. The course content is rated highly appropriate in both required and elective major courses, core courses, specialized courses, language skills, linguistics, translation, elective courses, and practical experience courses. However, literature courses are seen as moderately beneficial. The instructors posses suitable qualifications, experience, and teaching ability at a high level. However, textbooks and supplementary materials used in teaching are considered moderately appropriate and satisfactory. Classroom and equipment are rated as moderately suitable, with specific issues related to outdated and malfunctioning language lab equipment. There is a suggestion to modernize classroom technology such as computers, projectors, and sound systems. The library resources are also rated as moderately satisfactory. 3. Processes Evaluation: Overall, the curriculum’s teaching and learning processes, assessment methods, additional student activities, and student support systems are effective, ranging from moderate to high levels of satisfaction. Students rated the advisor system for student support the highest. 4. Output Evaluation: Employers of the graduates are highly satisfied with the quality of graduates from the Bachelor of Arts in English program, with an overall average score of 4.17 across five areas. In terms of ethics and morality, the average score is 4.38. The knowledge aspect scored 4.07, indicating that graduates posses strong language skills and can effectively use English in organizational settings and communicate appropriately with foreigners. Cognitive skills averaged 4.04, interpersonal skills, 4.15, and skills in numerical analysis, communication, and IT usage averaged 4.13. Graduates are noted for their ethics, patience, kindness, helpfulness, good behavior, adaptability, listening to colleagues, confidence, assertiveness, and creativity. However, it is suggested that graduates should improve their attention to detail in their work.
dc.description.sponsorship การวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2565 en
dc.language.iso th en
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.subject การประเมินหลักสูตร en
dc.subject Curriculum evaluation en
dc.subject ภาษาอังกฤษ -- หลักสูตร en
dc.subject English language -- Curricula. en
dc.subject ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน en
dc.subject English language -- Study and teaching en
dc.title การประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (ฉบับปี พุทธศักราช 2562) มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.title.alternative An Evaluation of the Bachelor of Arts in English Program (Revised Curriculum Academic Year 2019) Huachiew Chalermprakiet University en
dc.type Technical Report en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account