การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์มโนทัศน์เกี่ยวกับตัวละครเมียในนวนิยายของกฤษณา อโศกสิน โดยวิเคราะห์นวนิยายของกฤษณา อโศกสิน จำนวน 6 เรื่อง ได้แก่ เพลิงบุญ บาดาลใจ เมียหลวง น้ำเซาะทราย ระบำมาร และลายหงส์ ผลการวิจัย พบว่า ในนวนิยายของกฤษณา อโศกสินได้นำเสนอมโนทัศน์เกี่ยวกับบทบาทของเมีย หลวงและมโนทัศน์เกี่ยวกับเมียน้อย และได้เรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่ผู้หญิงที่มีสถานภาพเป็นเมีย ด้านมโนทัศน์เกี่ยวกับบทบาทของเมียหลวง พบว่า คนไทยมีความคิดว่า เมียหลวงมีหน้าที่ปรนนิบัติสามี การอบรมสั่งสอนเลี้ยงดูลูก เสียสละเพื่อประโยชน์ของสามี และทำงานช่วยแบ่งภาระหน้าที่ของสามี ด้าน มโนทัศน์เกี่ยวกับเมียน้อย พบว่า คนไทยมีความคิดว่า ผู้หญิงเป็นเมียน้อย มีเจตนาเพื่อเงิน และเมียน้อย เป็นต้นเหตุที่ทำให้สามีนอกใจภรรยา ด้านการเรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่ผู้หญิงที่มีสถานภาพเป็นเมีย พบว่า เมียถูกกีดกันลิดรอนสิทธิ์ในด้านการทำงาน และการคบเพื่อนผู้ชาย ด้วยความไม่ยุติธรรมจึงทำให้ ตัวละครเมียต้องการเรียกร้องความเป็นธรรมว่า ผู้หญิงที่มีสถานภาพเป็นเมียไม่ควรถูกกีดกันสิทธิ์ในด้าน การทำงาน และการคบเพื่อน
This study aimed to analyze concepts about characteristics of wife characters in the novels of Krisana Asokesin. Six novels were studied namely Pleng-boon, Ba-dan-jai, Mea-luong, Nam-suo-sai, Ra-bum-marn, and Lai-hong. Based on the concept of the major wife, the results showed that in Thai society the major wives were responsible for taking care of their husbands, raising children, being sacrificing and giving hands to share duties with their husbands. At the same time, the minor wives in Thai perception were greedy and became the temptation for men to be dishonest. On the issue of justice, the results revealed that most Thai wives were treated unfairly in their careers and making friends with other men. All these things inspired Thai women in the role of wives to claim their equal right.