การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภาพสะท้อนสังคมและวัฒนธรรมที่ปรากฏในนิทาน พื้นบ้านของชนเผ่าน่าซีที่แปลเป็นภาษาไทย ขอบเขตการวิจัย คือ นิทานพื้นบ้านในหนังสือรวมนิทาน พื้นบ้านของชนเผ่าน่าซีทั้งหมด 124 เรื่อง ผลการวิจัยพบว่า ภาพสะท้อนสังคมที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้าน ของชนเผ่าน่าซีประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านชีวิตความเป็นอยู่ ชาวน่าซีส่วนใหญ่อาศัยอยู่ใกล้กับ ภูเขา แหล่งน้ำใช้ชีวิตอย่างง่ายสบาย พึ่งพาธรรมชาติ ดังนั้น ชาวน่าซีส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา เลี้ยง สัตว์ ล่าสัตว์และทอผ้า ชาวน่าซีเดินทางด้วยเท้า นอกจากนี้แล้ว ม้า เกี้ยวและเรือยังเป็นยานพาหนะของ ชาวน่าซี 2)ด้านลักษณะนิสัย ชนเผ่าน่าซีเป็นกลุ่มที่มีความขยัน ความกล้าหาญและความกตัญญู3) ด้าน ความเชื่อ ชนเผ่าน่าซีนับถือศาสนาตองปา มีความเชื่อเรื่องเทพเจ้า โดยเฉพาะเทพเจ้าซู่และมีความเชื่อ เรื่องทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วและมีความเชื่อเรื่องการเกิดใหม่ และ 4) ด้านประเพณี ประกอบด้วยประเพณี เกี่ยวกับงานแต่งงาน ประเพณีงานศพและเทศกาลของชนเผ่าน่าซี จากภาพสะท้อนสังคมและวัฒนธรรม ที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านของชนเผ่าน่าซีทำให้คนในสังคมได้รู้จักวิถีชีวิต ความเชื่อ ประเพณีและ วัฒนธรรมของชนเผ่าน่าซี
This study aimed to analyze the reflection of society and culture in the Naxi folktales which were translated in Thai. One hundred and twenty-four folktales were studied. The results presented that four aspects of the reflection were found. The first reflection was about Naxi people’s ways of lives who lived on high lands. They made a living naturally such as agriculture, hunting and weaving. Travelling either on feet, horses or boat were their transportation. On the issue of characteristics, Naxi people were hard working, brave and gratitude. Moreover, Dongba rite was the main belief of Naxi people. For example, they believed in gods, particularly in Shu God, karma and reincarnation. Lastly, Naxi tribe tried to inherit their ways of lives including beliefs, culture and traditions.