การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเกิดขึ้น การดำรงอยู่ และการเปลี่ยนแปลงของตลาด คลองสวน 100 ปีจังหวัดฉะเชิงเทรา-จังหวัดสมุทรปราการ โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบง่ายจำนวน 30 ร้าน และนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ผลการศึกษา พบว่า ตลาดแห่งนี้มีความเป็นมายาวนานกว่า 100 ปีตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองประเวศน์บุรีรมย์ ตลาดแห่งนี้เป็นศูนย์กลางทางการค้าตั้งแต่ พ.ศ. 2423 มีพ่อค้าแม่ค้าคนไทยเชื้อสายจีนได้ค้าขายสืบต่อจาก บรรพบุรุษชาวจีนอพยพ ชุมชนตลาดแห่งนี้มีรูปแบบวิถีชีวิตที่ผสมผสานระหว่างการมีแบบดั้งเดิม และแบบ สมัยใหม่อย่างกลมกลืน สะท้อนผ่านการทำการค้า ขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ สืบทอดวิถีชีวิต และวัฒนธรรมที่ทำให้ตลาดคลองสวน 100 ปีแห่งนี้ยังคงดำรงอยู่ และพัฒนาเปลี่ยนแปลง ในปัจจุบันมีลักษณะทางกายภาพที่เหมาะสมในการเป็นศูนย์การทางการค้าขายและเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
This research aimed to study the establishing, the existence and the evolution of the 100-year Klong Suan Market in Chachengsao and Samutprakarn Provinces. The data was collected from the simple group of 30 shops in the market, and the findings were reported as a descriptive research type. The results showed that the market was founded over hundred years in the reign of King Rama V, when the Prawesburirom Canal was dug. The market had been a commercial center since A.D. 1880. Thai-Chinese traders had run businesses consecutively since the generation of their Chinese immigrant ancestors. The community of the market had maintained the harmonious ways of life between the traditional life and the modern life. This could reflect through doing commerce, custom, tradition and the unique culture. All these factors had supported the existence, and the evolution of this 100-year Klong Suan Market. Also, its physical location is suitable for being a trading center and a tourist attraction at the present time.