การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบบรรยายเชิงวิเคราะห์ความสัมพันธ์ (Descriptive correlation research) เพื่อศึกษาความชุก และปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยด้านสุขภาพ ในการทำนายความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต่ำ (Low handgrip strength) ในผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน 192 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามกิจกรรมทางกาย (GPAQ) แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุไทย (TGDS-15) และเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินภาวะโภชนาการและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต่ำ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย และ วิเคราะห์สมการถดถอยโลจิสติกส์ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุ เฉลี่ย 69.60 ± 7.6 ปี พบความชุกของความแข็งแรงกล้ามเนื้อต่ำในผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ร้อยละ 54.17 ด้านปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยด้านสุขภาพ พบว่า อายุ (OR= 3.47, 95%CI = 1.91-6.33) ภาวะน้ำหนักตัวลด (OR= 4.05, 95%CI = 1.11-14.70) ระดับของกิจกรรมทางกาย (OR= 0.37, 95%CI = .19-.73) และภาวะซึมเศร้า (OR= 3.06, 95%CI = 1.16-8.03) สามารถทำนายความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต่ำ อายุ และระดับกิจกรรมทางกาย ของผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สามารถร่วมกันทำนายการมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต่ำ ได้ร้อย 14.3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อเสนอแนะ การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า อายุ และ ระดับกิจกรรมทางกาย เป็นปัจจัยที่สามารถทำนายความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต่ำ ในผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน ควรมีการพัฒนาโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยง ป้องกันการลดลงของความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ในผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน
This descriptive correlational research aimed at examining the prevalence and predicting factors associated with handgrip strength among community-dwelling older with non-communicable diseases. The sample comprised 192 older adults aged 60 and above with non-communicable diseases. Data collection involved the Global Physical Activity Questionnaire (GPAQ) version 2, the Thai Geriatric Depression Scale (TGDS-15), and nutritional and muscle strength assessments. Data were analyzed using descriptive statistics and logistic regression analysis. The results indicate that the mean age of the sample was 69.60 ± 7.6 years. The prevalence of low muscle strength was 54.17%, age (OR= 3.47, 95%CI = 1.91-6.33), weight loss (OR= 4.05, 95%CI = 1.11-14.70), physical activity (OR= 0.37, 95%CI = .19-.73), and depression (OR= 3.06, 95%CI = 1.16-8.03) were significantly predicted low handgrip strength. Age and physical activity among older adults with non-communicable diseases could together predict muscle strength at 14.3%. This study demonstrates a significant association between age and physical activity as predictors of muscle strength among older adults in the community with non-communicable diseases. Therefore, health promotion programs for older adults should be implemented to reduce risk factors and prevent low muscle strength among community-dwelling older people with non-communicable diseases.