Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3221
Title: ปัจจัยทำนายความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต่ำในผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน
Other Titles: Factors Predicting of the Handgrip strength Among Community- Dwelling older with Non- Communicable Diseases
Authors: พัชราภรณ์ ไหวคิด
ธมกร อ่วมอ้อ
กันยา สุวรรณคีรีขันธ์
Phatcharaporn Whaikit
Thamakorn Aumaor
Kanya Suvankereekhun
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
Keywords: กล้ามเนื้อ
Muscles
กำลังกล้ามเนื้อ
Muscle strength
สมรรถภาพทางกายสำหรับผู้สูงอายุ
Physical fitness for older people
ผู้สูงอายุ
Older people
โรคเรื้อรัง
Chronic diseases
โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
Non-Communicable Diseases
Issue Date: 2021
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบบรรยายเชิงวิเคราะห์ความสัมพันธ์ (Descriptive correlation research) เพื่อศึกษาความชุก และปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยด้านสุขภาพ ในการทำนายความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต่ำ (Low handgrip strength) ในผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน 192 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามกิจกรรมทางกาย (GPAQ) แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุไทย (TGDS-15) และเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินภาวะโภชนาการและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต่ำ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย และ วิเคราะห์สมการถดถอยโลจิสติกส์ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุ เฉลี่ย 69.60 ± 7.6 ปี พบความชุกของความแข็งแรงกล้ามเนื้อต่ำในผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ร้อยละ 54.17 ด้านปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยด้านสุขภาพ พบว่า อายุ (OR= 3.47, 95%CI = 1.91-6.33) ภาวะน้ำหนักตัวลด (OR= 4.05, 95%CI = 1.11-14.70) ระดับของกิจกรรมทางกาย (OR= 0.37, 95%CI = .19-.73) และภาวะซึมเศร้า (OR= 3.06, 95%CI = 1.16-8.03) สามารถทำนายความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต่ำ อายุ และระดับกิจกรรมทางกาย ของผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สามารถร่วมกันทำนายการมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต่ำ ได้ร้อย 14.3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อเสนอแนะ การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า อายุ และ ระดับกิจกรรมทางกาย เป็นปัจจัยที่สามารถทำนายความแข็งแรงของกล้ามเนื้อต่ำ ในผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน ควรมีการพัฒนาโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยง ป้องกันการลดลงของความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ในผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน
This descriptive correlational research aimed at examining the prevalence and predicting factors associated with handgrip strength among community-dwelling older with non-communicable diseases. The sample comprised 192 older adults aged 60 and above with non-communicable diseases. Data collection involved the Global Physical Activity Questionnaire (GPAQ) version 2, the Thai Geriatric Depression Scale (TGDS-15), and nutritional and muscle strength assessments. Data were analyzed using descriptive statistics and logistic regression analysis. The results indicate that the mean age of the sample was 69.60 ± 7.6 years. The prevalence of low muscle strength was 54.17%, age (OR= 3.47, 95%CI = 1.91-6.33), weight loss (OR= 4.05, 95%CI = 1.11-14.70), physical activity (OR= 0.37, 95%CI = .19-.73), and depression (OR= 3.06, 95%CI = 1.16-8.03) were significantly predicted low handgrip strength. Age and physical activity among older adults with non-communicable diseases could together predict muscle strength at 14.3%. This study demonstrates a significant association between age and physical activity as predictors of muscle strength among older adults in the community with non-communicable diseases. Therefore, health promotion programs for older adults should be implemented to reduce risk factors and prevent low muscle strength among community-dwelling older people with non-communicable diseases.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3221
Appears in Collections:Nursing - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Factors-Predicting-of-the-Handgrip-strength.pdf2.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.