Abstract:
ปัจจัยที่มีอิทธพิลต่อภาวะสุขภาพจิตของพยาบาลวิชาชีพ : ศึกษาเฉพาะพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลจิตเวชในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพจิตของพยาบาลวิชาชีพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านต่างๆ ที่มีออิทธิพลต่อภาวะสุขภาพจิต ในด้านส่วนตัว ครอบครัว เศรษฐกิจ การดูแลสุขภาพ ลักษณะการทำงาน สัมพันธภาพกับผู้ร่วมงาน โดยศึกษาเฉพาะพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลจิตเวชในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลรวม 3 แห่ง คือ โรงพยาบาลศรีธัญญา โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา และโรงพยาบาลนิติจิตเวช จำนวน 238 คน รวบรวมข้อมูลและนำผลข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS/PC+ เพื่อศึกษาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเกือบทั้งหมดเป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ยประมาณ 40 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี สมรสแล้ว รายได้เดือนละ 13,000-20,000 บาท มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ส่วนใหญ่ยังมีภาระหนี้สิน สุขภาพร่างกายแข็งแรงไม่มีโรคประจำตัว ทำงานตรงกับสายวิชาชีพ มีประสบการณ์ในการทำงานนาน 21 ปีขึ้นไป และมีโอกาสที่จะเจริญก้าวหนาในตำแหน่งหน้าที่ในสายของวิชาชีพ
การศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพจติของพยาบาลพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพล คือ (1) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ ความเพียงพอของรายได้ การมีภาะหนี้สิน การต้องทำงานพิเศษเพิ่มรายได้ (2) ปัจจัยด้านการทำงาน ได้แก่ ความยากลำบากในการทำงาน เนื่องจากลักษณะของงานทีหนักและเสี่ยงต่อภยันตราย ปัญหาในการทำงานเป็นทีม ทัศนคตต่อวิชาชีพ ความยากลำบากในการเดินทางมาทำงาน ช่วงเวลาการปฏิบัติงานในยามวิกาล และการปรับเปลี่ยนเวลาทำงานอยู่ตลอด โอกาสก้าวหน้า (3) ปัจจัยด้านสุขภาพ ได้แก่ ความแข็งแรงของสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ การดูแลสุขภาพของตนเอง
จากผลการวิจัยนำสู่ข้อเสนอแนะดังนี้ (1) กระทรวงสาธารณาสุขเน้นด้านการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพอนามัย โดยให้เล็งเห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย สนับสนุนและส่งเสริมในเรื่องนี้ ให้ทุกหน่วยงานดำเนินการและประสานความร่วมมือให้เจ้าหน้าที่ทุกระดับได้เล็กเห็นความสำคัญ (2) ด้านการทำงาน ต้องปลูกฝังทัศนคติที่ดีในเรื่องนี้ตั้งแต่สถาบันการศึกษาพยาบาล ผู้บริหารทุกระดับชั้นต้องส่งเสริมด้านขวัญกำลังใข ให้โอกาสในการเจริญก้าวหน้า และ (3) ด้านเศรษฐกิจควรปรับปรุงสวัสดิการด้านต่างๆ ของเจ้าหน้าที่ให้เพิ่มขึ้น