DSpace Repository

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพจิตของพยาบาลวิชาชีพ : ศึกษาเฉพาะพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลจิตเวชในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Show simple item record

dc.contributor.advisor จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร
dc.contributor.advisor Jaturong Boonyarattanasoontorn
dc.contributor.author ทิวาพร ฟูเฟื่อง
dc.contributor.author Thiwaphorn Foofueng
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
dc.date.accessioned 2024-11-09T12:23:22Z
dc.date.available 2024-11-09T12:23:22Z
dc.date.issued 1999
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3234
dc.description สารนิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2542 en
dc.description.abstract ปัจจัยที่มีอิทธพิลต่อภาวะสุขภาพจิตของพยาบาลวิชาชีพ : ศึกษาเฉพาะพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลจิตเวชในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพจิตของพยาบาลวิชาชีพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านต่างๆ ที่มีออิทธิพลต่อภาวะสุขภาพจิต ในด้านส่วนตัว ครอบครัว เศรษฐกิจ การดูแลสุขภาพ ลักษณะการทำงาน สัมพันธภาพกับผู้ร่วมงาน โดยศึกษาเฉพาะพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลจิตเวชในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลรวม 3 แห่ง คือ โรงพยาบาลศรีธัญญา โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา และโรงพยาบาลนิติจิตเวช จำนวน 238 คน รวบรวมข้อมูลและนำผลข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS/PC+ เพื่อศึกษาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเกือบทั้งหมดเป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ยประมาณ 40 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี สมรสแล้ว รายได้เดือนละ 13,000-20,000 บาท มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ส่วนใหญ่ยังมีภาระหนี้สิน สุขภาพร่างกายแข็งแรงไม่มีโรคประจำตัว ทำงานตรงกับสายวิชาชีพ มีประสบการณ์ในการทำงานนาน 21 ปีขึ้นไป และมีโอกาสที่จะเจริญก้าวหนาในตำแหน่งหน้าที่ในสายของวิชาชีพ การศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพจติของพยาบาลพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพล คือ (1) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ ความเพียงพอของรายได้ การมีภาะหนี้สิน การต้องทำงานพิเศษเพิ่มรายได้ (2) ปัจจัยด้านการทำงาน ได้แก่ ความยากลำบากในการทำงาน เนื่องจากลักษณะของงานทีหนักและเสี่ยงต่อภยันตราย ปัญหาในการทำงานเป็นทีม ทัศนคตต่อวิชาชีพ ความยากลำบากในการเดินทางมาทำงาน ช่วงเวลาการปฏิบัติงานในยามวิกาล และการปรับเปลี่ยนเวลาทำงานอยู่ตลอด โอกาสก้าวหน้า (3) ปัจจัยด้านสุขภาพ ได้แก่ ความแข็งแรงของสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ การดูแลสุขภาพของตนเอง จากผลการวิจัยนำสู่ข้อเสนอแนะดังนี้ (1) กระทรวงสาธารณาสุขเน้นด้านการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพอนามัย โดยให้เล็งเห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย สนับสนุนและส่งเสริมในเรื่องนี้ ให้ทุกหน่วยงานดำเนินการและประสานความร่วมมือให้เจ้าหน้าที่ทุกระดับได้เล็กเห็นความสำคัญ (2) ด้านการทำงาน ต้องปลูกฝังทัศนคติที่ดีในเรื่องนี้ตั้งแต่สถาบันการศึกษาพยาบาล ผู้บริหารทุกระดับชั้นต้องส่งเสริมด้านขวัญกำลังใข ให้โอกาสในการเจริญก้าวหน้า และ (3) ด้านเศรษฐกิจควรปรับปรุงสวัสดิการด้านต่างๆ ของเจ้าหน้าที่ให้เพิ่มขึ้น en
dc.language.iso th en
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.subject พยาบาล -- ไทย en
dc.subject Nurses -- Thailand en
dc.subject สุขภาพจิต en
dc.subject Mental health en
dc.subject การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง en
dc.subject Self-care, Health en
dc.title ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพจิตของพยาบาลวิชาชีพ : ศึกษาเฉพาะพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลจิตเวชในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล en
dc.title.alternative Factors Effecting Mental Health of Professional Nurses : A Case Study of Professional Nurses in Psychiatric Hospitals in Bangkok and Suburbs en
dc.type Independent Studies en
dc.degree.name สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต en
dc.degree.level ปริญญาโท en
dc.degree.discipline การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account