Abstract:
สารนิพนธ์เรื่อง พฤติกรรมความทันสมัยกับการปฏิบัติตนที่ไม่เหมาะสมของเยาวชนในกรุงเทพมหานครนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมความทันสมัยกับการปฏิบัติตนที่ไม่เหมาะสมของเยาวชน รวมทั้งศึกษาลักษณะของปัจจัยต่างๆ ด้านพฤติกรรมความทันสมัย และความไม่ซื่อสัตย์ของเยาวชนในกรุงเทพมหานครการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากเยาวชนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มัธยมศึกษาปีที่ 5 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 400 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นแบบบังเอิญ การเก็บรวบรวมข้อมูลใข้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือสำหรับสถิติที่ใช้ในการศึกษาเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรม SPSS For Window เพื่อหาค่าร้อยละ (Percent) และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ถอถอยพหุคูณแบบปกติ (Multiple Regression)โดยกำหนดตัวแปรทั้งหมด 19 ตัวแปร คือ ตัวแปรอิสระ 18 ตัวแปร ได้แก่ 1) ตัวแปรปัจจัยส่วนบุคคลมี 4 ตัวแปร ได้แก่ เพศ อายุ รายรับนักเรียน และรายได้ของครอบครัว 2) ตัวแปรด้านความทันสมัยของเยาวชน 9 ตัวแปร ได้แก่ 1. ความทันสมัยของข้อมูลข่าวสารจากทางอินเตอร์เน็ต 2. ความทันสมัยด้านการจัดรายการลดราคาให้รู้สึกว่ามีราคาถูก 3. ความทันสมัยด้านความรวดเร็วในการให้บริการ 4. ความทันสมัยด้านการต้อนรับของพนักงาน 5. ความทันสมัยด้านของแถม 6. ความทันสมัยด้านการโฆษณาสื่อต่างๆ 7. ความทันสมัยโดยมีดาราเป็นแบบอย่างของแฟชั่น 8. ความสะดวกสบายของศูนย์การค้าที่มีความทันสมัย 9. ความทันสมัยของสินค้าและบริการด้านความสนุกสนานเพลิดเพลิน 3) ตัวแปรด้านการใช้จ่าย 5 ตัวแปร 1. การใช้จ่ายต่อสัปดาห์ด้านการบริโภคอาหารฟาสต์ฟู้ด 2. การใช้จ่ายต่อสัปดาห์ด้านการใช้โทรศัพท์มือถือ 3. การใช้จ่ายต่อสัปดาห์ด้านการใช้บริการตู้คารโอเกะ 4. การใช้จ่ายต่อสัปดาห์ด้านการชมภาพยนต์ 5. การใช้จ่ายต่อสัปดาห์ด้านการเล่นเกมทางคอมพิวเตอร์ ส่วนตัวแปรตาม 1 ตัวแปร ได้แก่ พฤติกรรมการปฏิบัติตนในทางที่ไม่เหมาะสมผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ และตัวแปรตามโดยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ ผู้วิจัยได้นำตัวแปรทั้งหมดเข้าทดสอบค่าสหสัมพันธ์ พบว่า ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตนที่ไม่เหมาะสมของเยาวชน ได้แก่ เพศ รายได้ของครอบครัว ความสะดวกของศูนย์การค้าที่มีความทันสมัย ความทันสมัยของสินค้าด้านความสนุกสนานเพลิดเพลิน และการใช้จ่ายต่อสัปดาห์ด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหารฟาสต์ฟู้ด โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ที่มีความสัมพันธ์ร้อยละ 17