การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) รวบรวมและวิเคราะห์ปัญหาของการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม โครงการแลกเปลี่ยนระยะสั้นมหาวิทยาลัยครุศาสตร์ไหหลำกับมหาวิทยาลัยศิลปากร 2) นำเสนอแนวทาง การแก้ปัญหาของการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมโครงการแลกเปลี่ยนระยะสั้นมหาวิทยาลัยครุศาสตร์ไหหลำกับ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามและการสังเกต จากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาชาวจีนที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 25 คน ผลการวิจัยพบ 1) ด้านปัญหาการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมพบปัญหา 3 ด้าน ดังนี้ 1.1) ปัญหาด้านความไม่รู้ภาษา ร้อยละ 84 แบ่งออกเป็นการจำวิธีสะกดไม่ได้ การออกเสียงไม่ชัดเจนและไม่ถูกต้อง การรู้คำศัพท์ไม่มากพอทำให้ไม่เข้าใจ และปัญหาความสับสนในการใช้สรรพนาม 1.2) ปัญหาด้านการไม่เข้าใจวัฒนธรรม ร้อยละ 88 แบ่งออกเป็นการไม่ทราบถึงระเบียบการแต่งกายของนักศึกษาตามระเบียบของมหาวิทยาลัย การไม่เข้าใจวัฒนธรรมเกี่ยวกับเวลาและการนัดหมายของชาวไทย การไม่เข้าใจวัฒนธรรม การไหว้ที่เหมาะสม 1.3) ปัญหาด้านสภาพแวดล้อม ร้อยละ 100 คือ การไม่เข้าใจวิถีชีวิตของนักศึกษาในมหาวิทยาลัย ปัญหาเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อนักศึกษาชาวจีนที่มาแลกเปลี่ยนระยะสั้นครั้งนี้ ทำให้เกิดความรู้สึกเหงา แปลกแยก และปฏิบัติตัวไม่ถูกต้อง 2) ด้านแนวทางการแก้ไขปัญหา พบว่า มีแนวทาง ดังต่อไปนี้ 2.1) ด้านการไม่รู้ภาษา อาจารย์ผู้สอนได้เพิ่มการทำแบบฝึกหัดการสะกดคำ จัดให้มีเพื่อนสนิท ชาวไทยคอยแนะนำการออกเสียง การใช้พจนานุกรมหรือ electronic-dictionary และการแก้ไขการใช้คำ สรรพนามโดยให้ฝึกสังเกตบริบทผู้พูดและเปรียบเทียบกับคำสรรพนามที่ตนเองเคยเรียนรู้มา 2.2) ด้านการไม่เข้าใจวัฒนธรรม ประกอบไปด้วย วัฒนธรรมการแต่งกายของนักศึกษาไทย นักศึกษาจีนได้ซื้อชุดนักศึกษาและแต่งกายตามระเบียบของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย วัฒนธรรมเกี่ยวกับเวลา อาจารย์ผู้ควบคุมอธิบายให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการนัดหมายกับคนไทยในสถานการณ์ส่วนบุคคลกับสถานการณ์ทางการว่ามีความแตกต่างกัน วัฒนธรรมการไหว้ในสังคมไทย อาจารย์ผู้ควบคุมอธิบายเพิ่มเติม เช่นเดียวกัน 2.3) ด้านสภาพแวดล้อม อาจารย์ผู้ควบคุมได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมและอธิบายถึง ความแตกต่าง ระหว่างสภาพแวดล้อมในมหาวิทยาลัยไทยกับมหาวิทยาลัยจีน และให้ใช้เวลาในการทำกิจกรรมหลังเลิก เรียนกับกลุ่มเพื่อนมากขึ้น แนวทางการแก้ปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นล้วนส่งผลทำให้นักศึกษาชาวจีนเข้ากับ กลุ่มเพื่อนและอาจารย์ได้ดียิ่งขึ้น และเป็นผลให้การแลกเปลี่ยนระยะสั้นในครั้งนี้มีสัมฤทธิผลตามวัตถุประสงค์
This qualitative research aims to study 1) To collect and analyze the problems of cross-culture communication problems of the short-term program between Hainan Normal University and Silpakorn University; and 2) solutions of cross-culture communication problems of the short-term program between Hainan Normal University and Silpakorn University.Research methodologies include the questionnaire and observations of twentyfive Chinese students, participating in the project. For 1) Cross-cultural communication problems, the research found three areas of problems, including 1.1) the insufficient knowledge of Thai language of the Chinese students 84 %, including poor spelling; unclear accent; incorrect grammar; limited vocabulary, and confusion in using personal pronouns. 1.2) Not being aware of Thai culture 88 %, concerning codes of student uniforms; time and appointments; and Thai codes of paying respect. 1.3) Environmental problems 100 %, including being unfamiliar with the lifestyle of Thai university students; this made the Chinese students feel lonely, alienated, and behave incorrectly. Regarding 2) solutions of the problems, three suggestions are concluded, including 2.1) teachers and classmates provided extra practices or assistance to the Chinese students, covering all problems found about communication in Thai, for example spelling; pronunciation; using of electronic dictionary. 2.2) Relating to cultural problems, the program coordinator orientated the Chinese students about rules and regulations of Thai universities and all cultural problems found. 2.3) Environmental problems, the program coordinator provided additional knowledge about contexts of studying in Thai universities and after class activities to the Chinese students, who eventually developed good relationships with both Thai teachers and students. By all solutions, the short-term program between the two universities studied could achieve its objectives.