จีนให้ความสำคัญกับการขยายเส้นทางการค้ามาทางตอนใต้ นับเป็นโอกาสของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่จะต้องพัฒนาศักยภาพให้เข้มแข็งในการเข้าสู่ตลาดตอนใต้ของจีน งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยในการเข้าสู่ตลาดทางตอนใต้ของจีน 2. ศึกษาลักษณะความร่วมมือระหว่างธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกับเครือข่ายองค์การภาครัฐและเอกชนในระดับท้องถิ่น และ 3. วิเคราะห์โอกาสของธุรกิจโดยผ่านเครือข่ายความร่วมมือองค์การภาครัฐและเอกชนระดับท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่าง ผู้บริหาร หรือหน่วยงานที่ติดต่อการค้าระหว่างไทยและตอนใต้ของจีน จากการสัมภาษณ์ผู้บริหาร 14 คน และผู้ประกอบการ 30 คน รวม 44 คน ใช้การสัมภาษณ์และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ การวิเคราะห์เนื้อหา สถิติเชิงพรรณนา การแจงแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาสำคัญที่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยประสบมากที่สุดในการค้าขายกับมลฑลตอนใต้ของประเทศจีนคือ กฎระเบียบทางการค้า/พิธีการศุลกากร การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ ด้านการตลาด ลักษณะความร่วมมือระหว่างธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกับเครือข่าย คือ ภาครัฐเป็นผู้นำภาคเอกชน รูปแบบที่พึงประสงค์คือ ภาครัฐให้ความสนับสนุนโดยภาคธุรกิจนำ กระจายอำนาจให้หน่วยงานท้องถิ่นตัดสินใจ โอกาสของธุรกิจเข้าสู่ตลาดทางตอนใต้ของจีน ได้แก่ ให้ความสำคัญกับเครือข่ายความร่วมมือ ข้อเสนอแนะ ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่าย ให้ความรู้อย่างลึกซึ้งในตลาดจีน และควรมีการศึกษาข้อมูลการจัดการโลจิสติกส์และการขนส่งสินค้าชายแดนและผ่านแดนเพื่อลดปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น
China attaches importance to expansion of trade routes to the south and it is an opportunity for small and medium enterprises (SMEs) should develop potential entering the southern Chinese market. This research aimed to 1) study problems and obstacles of SMEs to the southern Chinese market. 2) study the cooperation between SMEs and the Local Government/Private Networking and 3) Analyze business opportunities via the Local Government/Private Networking. 44 samples consisted of 14 administrators and 30 entrepreneurs. Research instruments are interview and questionnaire by using content analysis, descriptive statistics, frequency, percentage, average and standard deviation.
Research results reveal that the most common problems encountered SMEs in trading with China southern province are trade regulations, customs clearance. The nature of cooperation between SMEs and networks are state leads the private sector. The desirable pattern is private sector leads and support by the government sector and decentralize to local in decision-making. Business opportunities entering the China southern market is focus on the cooperation network, promote entrepreneurs participate in network membership, provide in-depth knowledge about Chinese market, finding cross-border logistics and transportation management solutions to reduce problems.