Abstract:
การวิจัยเรื่อง คุณลักษณะของบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติและคุณลักษณะพิเศษของบัณฑิต หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต ปีการศึกษา 2566 มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาภาวะการมีงานทำ และการศึกษาต่อของบัณฑิตระดับปริญญาตรี หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2565 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชา/นายจ้างที่มีต่อคุณลักษณะของบัณฑิต ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ บัณฑิตระดับปริญญาตรี สำเร็จการศึกษาหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิตในปีการศึกษา 2565 จำนวน28 คน ได้รับแบบสอบถามกลับคืนจำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 92.86 และผู้บังคับบัญชา/นายจ้างของบัณฑิต จำนวน 22 คน ได้รับแบบสอบถามกลับคืนจำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 68.18ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้1. ภาวะการมีงานทำและการศึกษาต่อของบัณฑิตบัณฑิตส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 69.20) อายุ 23 ปีมากที่สุด (ร้อยละ 57.69) มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯและปริมณฑล (ร้อยละ 30.77) จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายวิทย์-คณิต (ร้อยละ 30.77) สมัครเข้าเรียนเป็นครั้งแรก (ร้อยละ 92.31) เหตุผลที่สมัครเข้าเรียนคือ มีความสนใจอยากประกอบอาชีพเป็นนักสังคมสงเคราะห์ (ร้อยละ 69.23) สำเร็จการศึกษาภายใน 4 ปี (ร้อยละ92.31) บัณฑิตรุ่นนี้ได้เกรดเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.08ภาวะการมีงานทำของบัณฑิต พบว่า ส่วนใหญ่มีงานทำ (ร้อยละ 84.62) ไม่ได้ศึกษาต่อ (ร้อยละ 96.15) บัณฑิตส่วนใหญ่ไม่ต้องการศึกษาต่อ (ร้อยละ 96.15) ส่วนบัณฑิตกลุ่มที่ต้องการศึกษาต่อพบว่า ต้องการศึกษาต่อปริญญาโทด้านจิตวิทยา (ร้อยละ 25.00) และด้านนิติศาสตร์ (ร้อยละ 25.00)ระยะเวลาการได้งานทำครั้งแรกหลังสำเร็จการศึกษา 1-3 เดือน (ร้อยละ 42.31) ส่วนใหญ่ไม่เคยเปลี่ยนงานหลังจากได้งานทำครั้งแรก (ร้อยละ 76.92) ทำงานในหน่วยงานราชการ (ร้อยละ36.36) ประมาณครึ่งหนึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(ร้อยละ 50.00) ทำงานอยู่ในกรุงเทพฯและปริมณฑล (ร้อยละ 63.64) ทำงานในตำแหน่งนักสังคมสงเคราะห์ (ร้อยละ 27.78) ได้รับเงินเดือน 14,001 – 16,000 บาท (ร้อยละ 36.36) บัณฑิตส่วนใหญ่ทำงานเกี่ยวข้องกับสังคมสงเคราะห์/สวัสดิการสังคม (ร้อยละ 54.55) บัณฑิตประมาณครึ่งหนึ่งรู้สึกไม่พึงพอใจงานที่ทำ (ร้อยละ 50.00) ส่วนเหตุผลที่บัณฑิตรู้สึกไม่พึงพอใจกับงานที่ทำในปัจจุบันได้แก่ ขาดความมั่นคง ขาดความก้าวหน้า ระบบงานไม่ดี เท่ากัน (ร้อยละ 18.18) บัณฑิตส่วนใหญ่ได้นำความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้ในระดับมาก (ร้อยละ 36.36)การสอบและขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ พบว่า บัณฑิตส่วนใหญ่ยังไม่เคยสมัครสอบ (ร้อยละ 84.62) และมีเพียงร้อยละ 3.85 เท่านั้นที่ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์รับอนุญาตแล้วผลการประเมินตนเองของบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พบว่าบัณฑิตมีความพึงพอใจต่อคุณลักษณะตามมาตรฐานผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcomes) ในภาพรวมทั้ง 6 ด้าน อยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( = 4.15) และผลการพัฒนาคุณลักษณะพิเศษของบัณฑิตคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.42) โดยคุณลักษณะตามมาตรฐานผลลัพธ์การเรียนรู้ของบัณฑิตแต่ละด้านเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย ได้ดังนี้ด้านคุณธรรม จริยธรรม ( = 4.38) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (= 4.35) ด้านทักษะทางปัญญา ( = 4.17) ด้านทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ ( = 4.10) ด้านความรู้( = 4.08) และด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (= 3.82) ตามลำดับผลการประเมินด้านคุณลักษณะพิเศษของบัณฑิต พบว่า อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ( =4.42) โดยคุณลักษณะย่อยที่ได้รับการประเมินความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย ได้ดังนี้ มีจิตอาสาเรียนรู้เพื่อรับใช้สังคม ( = 4.62) สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ( =4.58) เป็นผู้มีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ( = 4.58) มีความรับผิดชอบต่อสังคม ( = 4.50) และมีคุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ ( = 4.46) 2. ความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชา/นายจ้างที่มีต่อคุณลักษณะของบัณฑิต ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติผู้บังคับบัญชา/นายจ้างเป็นเพศหญิง (ร้อยละ 66.67) ตำแหน่งผู้บริหารระดับกลาง/ผู้จัดการ/หัวหน้าฝ่าย (ร้อยละ 73.33) ทำงานในหน่วยงานราชการ (ร้อยละ 53.33) เป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานสังคมสงเคราะห์ (ร้อยละ 73.33) และมีระยะเวลาร่วมงานกับบัณฑิต 5 เดือน (ร้อยละ 40.00)ผู้บังคับบัญชา/นายจ้างมีความพึงพอใจต่อคุณลักษณะของบัณฑิตตามมาตรฐานผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcomes) ในภาพรวมทั้ง 6 ด้าน อยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( = 4.04) เมื่อพิจารณาตามรายด้าน พบว่า มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด 1 ด้าน คือ ด้านคุณธรรม จริยธรรม( = 4.28) ส่วนคุณลักษณะที่เหลือมีความพึงพอใจในระดับมากทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ( = 4.17) ด้านทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ ( =4.03) ด้านทักษะทางปัญญา ( = 3.96) ด้านความรู้ ( = 3.93) และด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ( = 3.86)ผลการพัฒนาคุณลักษณะพิเศษของบัณฑิตคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคมพบว่า ผู้บังคับบัญชา/นายจ้างมีความพึงพอใจต่อคุณลักษณะพิเศษในภาพรวม อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ( = 4.32) เมื่อพิจารณาคุณลักษณะย่อย พบว่า คุณลักษณะพิเศษของบัณฑิตที่ผู้บังคับบัญชา/นายจ้างมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ เป็นผู้ที่มีความรู้ และมีทักษะในการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ระดับปฏิบัติการตรงกับกลุ่มเป้าหมาย/ผู้ใช้บริการ ( =4.43) มีจิตอาสาเรียนรู้เพื่อรับใช้สังคม ( = 4.40) และมีความรับผิดชอบต่อสังคม ( = 4.36)ตามลำดับ