การวิจัยเรื่อง ภาพสะท้อนรูปแบบครอบครัวไทยในนวนิยายของภาพิมล มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภาพสะท้อนรูปแบบครอบครัวไทยในนวนิยายของภาพิมล ขอบเขตของการวิจัย คือ นวนิยายของภาพิมลที่มีครอบครัวเป็นองค์ประกอบสำคัญในการดำเนินเรื่อง จำนวน 6 เรื่อง ได้แก่ 1) พรางพนา ปี 2566 2) Water & Fire คู่ร้อน...ซ้อนเร้น ปี 2564 3) ตะวันข้างแรม ปี 2561 4) น้ำค้างเปื้อนสี ปี 2560 5) แกะรอยกามเทพ ปี 2558 6) กว่าจะถึงพรุ่งนี้ ปี 2555 ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยเอกสารและวิเคราะห์ตัวบทนวนิยาย ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบของครอบครัวในนวนิยายของภาพิมล มี 2 ประเภท ได้แก่ 1) ครอบครัวเดี่ยว มีสมาชิกประกอบครอบครัว 1-2 รุ่น แบ่งออกเป็น 5 ลักษณะ ได้แก่ ครอบครัวที่พ่อแม่ลูกอาศัยอยู่ด้วยกัน ครอบครัวที่เด็กอาศัยอยู่กับญาติผู้ใหญ่ ครอบครัวที่พ่ออยู่กับลูกครอบครัวที่แม่อยู่กับลูก ครอบครัวเด็กกำพร้า 2) ครอบครัวขยาย มีสมาชิกประกอบครอบครัว 3 รุ่นขึ้นไป คือ ปู่ ย่า ตา ยาย ป้า น้า อา ลุง หลานอาศัยอยู่ด้วยกัน หรือพี่น้องกับหลานอาศัยอยู่ด้วยกัน หรือป้ากับหลานอาศัยอยู่ด้วยกัน
This research aims to analyze reflections of Thai family type in six novels of Phapimol published during 2012-2023, including The Mystic Jungle (2023); Water & Fire (2021); The Waning Sun (2018); The colored Dew (2017); Stalking the Cupid (2015); and Unit Tomorrow (2012); The researcher used document research methods and textual analysis. The research finds two Thai family types in the novels studied, as the following. 1) Single family, comprising of one or two generations living together in various ranges of parents and children; senior and junior relatives; single dad with a child; single mom with a child orphans. 2) Extended family, comprising of three generations of grandparents; aunts and uncles; and nephews and nieces living together. Otherwise, brothers and sisters living with nephews or nieces, or aunts living with nephews or nieces are also found.