การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาเชิงวัฒนธรรม กลวิธีการนำเสนอเนื้อหาเชิงวัฒนธรรม และค่านิยมทที่นำเสนอผ่านเนื้อหาเชิงวัฒนธรรมของแบบเรียนภาษาไทย 4 ชุด ในสาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 17 เล่ม โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าร้อยละ และใช้วิธีวิเคราะห์เชิงคุณภาพในการจำแนกข้อมูลและเปรียบเทียบข้อมูลผลการวิจัยพบว่า 1) เนื้อหาเชิงวัฒนธรรมในแบบเรียนภาษาไทย 4 ชุด ด้านแหล่งที่มา มีเนื้อหาเชิงวัฒนธรรมที่ครอบคลุมทั้งเนื้อหาเชิงวัฒนธรรมไทย เนื้อหาเชิงวัฒนธรรมจีน เนื้อหาเชิงวัฒนธรรมนานาชาติและเนื้อหาเชิงวัฒนธรรมที่มีร่วมกัน และมีเนื้อหาเชิงวัฒนธรรมที่มีที่มาไม่แน่ชัดในแบบเรียนภาษาไทย 2 ชุด เนื้อหาเชิงวัฒนธรรมไทยเป็นเนื้อหาหลักของแบบเรียนภาษาไทยทุกชุด เนื้อหาเชิงวัฒนธรรมไทยเพิ่มขึ้นตามลำดับเวลา แต่เนื้อหาเชิงวัฒนธรรมจีนกลับน้อยลง ด้านประเภทเนื้อหา เนื้อหาเชิงวัฒนธรรมไทยประกอบด้วยเนื้อหาด้านผลผลิต 8 กลุ่ม วัฒนธรรมไทยเชิงแบบแผนปฏิบัติ 3 ระดับ วัฒนธรรมไทยด้านทรรศนะ 6 ประเภท วัฒนธรรมไทยด้านชุมชน 5 กลุ่ม วัฒนธรรมไทยด้านบุคคล 3 ประเภทและวัฒนธรรมไทยด้านภูมิศาสตร์ เนื้อหาเชิงวัฒนธรรมจีนประกอบด้วยวัฒนธรรมจีนดั้งเดิม 7 ประเภท วัฒนธรรมจีนด้านการปฏิวัติ 3 ประเภท วัฒนธรรมจีนสมัยใหม่ 3 ประเภท และวัฒนธรรมจีนด้านภูมิศาสตร์ 2) กลวิธีการนำเสนอเนื้อหาเชิงวัฒนธรรมมี 6 วิธีหลัก คือ การนำเสนอผ่านบทอ่านแบบฝึกหัด บทอ่านเสริม ภาพ ข้อสังเกต และทิปส์ (ใบแทรก) วิธีการนำเสนอเนื้อหาเชิงวัฒนธรรมในแบบเรียนแต่ละยุคสมัยแตกต่างกันโดยในแบบเรียนภาษาไทยยุคแรกเน้นการนำเสนอเนื้อหาเชิงวัฒนธรรมไทยแบบซ่อนเร้นผ่านบทอ่าน เมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 การนำเสนอเนื้อหาเชิงวัฒนธรรมไทยชัดแจ้งขึ้นในบทอ่านของแบบเรียน แต่ที่น่าสังเกต คือ ผู้สร้างแบบเรียนใช้วิธีนำเสนอแบบชัดแจ้งในการนำเสนอเนื้อหาเชิงวัฒนธรรมจีนในแบบเรียนภาษาไทยทุกสมัย อนึ่ง ในแบบเรียนภาษาไทยแต่ละชุด แบบเรียนภาษาไทยชั้นต้นเน้นวิธีการนำเสนอแบบชัดแจ้ง และแบบเรียนภาษาไทยชั้นกลางและชั้นสูงจะใช้วิธีการนำเสนอแบบซ่อนเร้นเป็นหลัก 3) ค่านิยมที่นำเสนอผ่านแบบเรียนภาษาไทยมี 2 ด้านหลัก ค่านิยมในมิติวัฒนธรรมเดียวประกอบด้วยค่านิยมเรื่องเวลา ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ ธรรมชาติของมนุษย์พฤติกรรมของมนุษย์ และความสัมพันธ์ระหว่างคนในสังคม ค่านิยมด้านพฤติกรรมเป็นค่านิยมหลักในแบบเรียนภาษาไทยทุกชุด ค่านิยมด้านเวลาและธรรมชาติของมนุษย์มีน้อยลง แต่ค่านิยมด้านความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติและความสัมพันธ์ระหว่างคนในสังคมมีมากขึ้นในแบบเรียนภาษาไทยยุคการปฏิรูปการศึกษา (2010-2020) ค่านิยมในมิติพหุวัฒนธรรมประกอบด้วย ค่านิยมด้านวัฒนธรรมร่วม ค่านิยมการข้ามวัฒนธรรม และค่านิยมด้านสากลนิยม ค่านิยมด้านการข้ามวัฒนธรรมเป็นค่านิยมหลักในแบบเรียนภาษาไทยทุกยุคสมัย ในแบบเรียนภาษาไทยยุคการปฏิรูปทางเศรษฐกิจ(1986-1995) ยังไม่มีการปลูกฝังค่านิยมด้านสากลนิยม แต่มีการปลูกฝังค่านิยมการข้ามวัฒนธรรมและค่านิยมด้านสากลนิยมเพิ่มมากขึ้นเป็นอย่างมากในแบบเรียนภาษาไทยยุคการปฏิรูปการศึกษา (2010-2020)
This research aims to analyze cultural contents; presentation techniques; and values presented through four volumns, seventeen books, of Thai textbooks in People’s Republic of China. Research methodologies are mixed of quantitative data analysis and qualitative analysis of data distribution and comparition. Research findings are as the following. For cultural contents, two areas are observed. 1) Sources, including Thai culture, appreared in all four volumes of Thai textbook and increasingly found; Chinese culture, decreasingly found; international cultures; common cultures; and unspecified culture, found in two volumes of Thai textbook. 2) Types of content, including 2.1) Thai culture – six types are found, namely eight groups of production; three levels of codes of conduct; six views of Thai culture; culure of five groups of communities; culture of three types of persons; and geographical culture. 2.2) Chinese culture – four types are found, namely seven types of original culture; three types of reformist culture; three types of modern culture; and geographical culture.For presentation techniques of cultural contents, six materials are used as the medium, including reading passages; exercises; additional reading texts; illustrations; notices; and tips. For techniques of presenting, as time progresses various techniques are applies, including 1) indirect way through reading passages – found in early texts; and 2) direct presenting through reading passages – found in textbooks in the 21st century. It is noted that Chinese culture is always directly presented in Thai textbooks of all time. However, in every volumn of Thai textbook, the primary level would presentthe contents directly, while the middle and high levels would indirectly present. Regarding values presented in Thai textbooks, two types are found, including 1) single dimention of value, namely about human behaviors – found principally inevery volumn of Thai textbook; about time and about the nature of humans – found seldomly; about human relationships with the nature and about human relationships in the society – found increasingly in reformist Thai textbooks, duling 2010 - 2020. 2) Multi dimentions of value, namely common cultural values; cross-cultural values –found principally in every period of Thai textbooks, especially in the period of educational reform; and international values – are not found in Thai textbooks in the period of economical reform, duling 1986 – 1995, yet increasingly found in Thai textbooks in the period of educational reform, duling 2010 - 2020.