กลุ่มผู้วิจัยได้ศึกษาคุณสมบัติของสารสกัดหยาบจากใบต้นจำปี (Michelia alba) และจำปา (Michelia champaca) ด้วยวิธีการสกัดด้วยตัวทำละลายอินทรีย์ คือ เฮกเซน เอทิลอะซิเตท และเมทานอล ตัวอย่างในการวิเคราะห์คือ ใบจากต้นจำปีและจำปาที่เก็บได้จากช่วงเดือนมกราคม เมษายน และมิถุนายน ในปี พ.ศ. 2559 โดยนำมาทดสอบการต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH scavenging assay ผลการทดสอบพบว่า สารสกัดหยาบในเมทานอลจากใบต้นจำปีและจำปาที่เก็บใบทั้ง 3 ช่วงเวลา มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระดีกว่าสารสกัดหยาบจากใบต้นจจำปีและจำปาในเฮกเซนและเอทิลอะซิเตท เมื่อเปรียบเทียบกับสารต้านอนุมูลอิสระมาตรฐาน BHT พบว่า สารสกัดหยาบจากใบต้นจำปาที่เก็บในเดือนมกราคมและมิถุนายนมีค่า IC50 เท่ากับ 0.018+0.001 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ซึ่งมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระดีกว่าสารต้านอนุมูลอิสระมาตรฐาน BHT ที่มีค่า IC50 เท่ากับ 0.048 + 0.002 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร นอกจากนี้พบว่าสารสกัดหยาบในเอทิลอะซิเตทของใบต้นจำปาที่เก็บในเดือนมกราคมมีฤทธิ์การยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งท่อน้ำดีชนิด RMCCA-1 ซึ่งวัดได้ด้วยวิธีทดสอบ MTT มีค่าการยั้ง IC50 เท่ากับ 13.51+1.12 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร โดยสารสกัดจากใบต้นจำปีและจำปาที่ความเข้มข้นในช่วงเดียวกับที่ใช้ทดสอบเซลล์มะเร็งท่อน้ำดีชนิด RMCCA-1 ไม่ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ท่อน้ำดีปกติชนิด MMNK-1 จากผลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าสารสกัดจำปีและจำปามีความสามารถต้านอนุมูลอิสระและยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง การศึกษานี้มีประโยชน์ในการเป็นทางเลือกในการพัฒนายาต้านมะเร็งในอนาคต อย่างไรก็ตามกลไกในการต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งท่อน้ำดียังคงต้องศึกษาต่อไปในอนาคต
Our research group studied the properties of crude extracts from Michelia alba and Michelia champaca leaves using the extraction method in the organic solvent i.e. hexane, ethyl acetate and methanol. The subjects of analysis were the collection of M. alba and M. champaca leaves from different time in January, April and June in 2016 which compared the antioxidant properties via DPPH scavenging assay. The results shown that the extraction of M. alba and M. champaca in methanol from all three periods composed of antioxidant properties more than the extraction M. alba and M. champaca in hexane and ethyl acetate. Additionally, the comparing of antioxidant properties with BHT, standard antioxidant agent, were found that the extraction of M. champaca in methanol from January and June can determine the IC50 to be 0.018+0.001 mg/mL. These results suggested the better antioxidant values than the standard antioxidant BHT which can determine the IC50 to be 0.048+0.002 mg/mL. Moreover, the extraction of M. champaca in ethyl acetate in January inhibited cell proliferation of Cholangiocarcinoma RMCCA-1 with IC50 of 13.51 + 1.12 μg/mL using the MTT assay method for detection. The range in the concentration of M. alba and M. champaca leaves extracts were applied to determine the effect against the cell proliferation in Cholangiocyte MMNK-1. The results shown that there is not significant affect the cell proliferation in MMNK-1. Together, results of this study show that crude extract of M. alba and M. champaca have antioxidant properties and anti-cancer cell proliferation. This study may be useful for the development of some alternative anti-cancer drug in the future. However, mechanism of inhibition of cholangiocarcinoma cell proliferation may be further elucidate.