งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมเกษตรกรและผู้แปรรูปปลาสลิดบางบ่อ อำเภอบางบ่อ อำเภอบางพลี อำเภอเมือง และอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ ในการพัฒนากระบวนการผลิตปลาสลิดบางบ่อ เพื่อขับเคลื่อนการขอใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกับเกษตรกรและผู้แปรรูป ปลาสลิดบางบ่อ และหน่วยงานภาครัฐ โดยมีการดำเนินการดังนี้ 1) การสร้างการรับรู้ ความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ปลาสลิดบางบ่อ 2) การพัฒนาวิธีการเลี้ยงปลา สลิดบางบ่อ 3) การพัฒนาการแปรรูปปลาสลิดบางบ่อ 4) การพัฒนาระบบควบคุมตรวจสอบ คุณภาพการผลิตปลาสลิดบางบ่อ และ 5) การถ่ายทอดแผนการเตรียมความพร้อมการจัดการปลาสลิดบางบ่อสู่ชุมชน ผลการดำเนินการทำให้เกษตรกรสามารถพัฒนากระบวนการผลิต ปลาสลิดบางบ่อได้ตามมาตรฐานสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ร้อยละ 59.02 ผู้แปรรูปปลาสลิด บางบ่อสามารถพัฒนากระบวนการแปรรูปได้ตามมาตรฐานสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ร้อยละ 12.5 และมีคู่มือการควบคุมและตรวจสอบคุณภาพการผลิตปลาสลิดบางบ่อ นอกจากนี้ยังมีระบบ ฐานข้อมูลสารสนเทศซึ่งประกอบด้วย ระบบฐานข้อมูลปลาสลิดบางบ่อ ระบบการตรวจสอบ คุณสมบัติและการสมัครขอใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ปลาสลิดบางบ่อ และระบบฐานข้อมูลการมส่วนร่วมและการเรียนรู้ผ่านโซเชียลมีเดียวและเว็บไซต์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลปลาสลิดบางบ่อ
The study aims to prepare farmers and processors of four districts of Samut Prakan province -- Bang Bo district, Bang Phli district, Muang district, and Bang Sao Thong district -- in development of Bang Bo snakeskin gourami production process to earn geographical certification and brand logo. By employing participatory action research process, researchers, farmers and processors of snakeskin gourami, as well as government agencies are involved in the study. The research process contains four phases: 1) raising awareness and knowledge on geographical certification of Bang Bo snakeskin gourami, 2) developing farming methods for Bang Bo snakeskin gourami, 3) developing dried salted snakeskin gourami processing, 4) developing a quality control system for Bang Bo snakeskin gourami production, and 5) sharing with the community, preparation plans on management. The findings indicate that the number of snakeskin gourami farmers whose production process has met geographical certification standard rises to 59.02% while the snakeskin gourami processors who meet the geographical certification standard counts for 12.5%. Moreover, a manual for quality control and quality assurance was developed for Bang Bo snakeskin gourami, which can be immediately used by Samut Prakan province. Finally, the newly developed information system promotes public relations of Bang Bo snakeskin gourami as it consists of Bang Bo snakeskin gourami database, qualification verification process, geographical certification and brand logo application process; which includes a database on communal participation and learning outcome via social media and websites.